มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัว
รหัสดีโอไอ
Creator อาทิตยา โภคสุทธิ์
Title มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัว
Contributor กุลปราณี กุลวิทิต, ขวัญศิริ เจริญทรัพย์, พิมุข สุศีลสัมพันธ์
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2565
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 11
Journal No. 1
Page no. 35-54
Keyword การลา, กฎหมายคุ้มครองแรงงาน, ดูแลครอบครัว
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการลาเพื่อดูแลครอบครัว 2) เพื่อวิเคราะห์พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการลาเพื่อดูแลครอบครัว และ 3) เพื่อหาข้อเสนอแนะหรือแนวทางพัฒนาปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัวให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไม่มีการบัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัวไว้โดยเฉพาะ กรณีที่ลูกจ้างมีความจำเป็นต้องดูแลครอบครัวในกรณีที่บุคคลในครอบครัวได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย ชราภาพ หรือมีความพิการ ลูกจ้างต้องใช้สิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น หรือขอหยุดพักผ่อนประจำปี ซึ่งไม่มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะคุ้มครองลูกจ้างในการรับผิดชอบหน้าที่ต่อครอบครัว อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลในชีวิตและการทำงาน และไม่รองรับต่อการที่ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งแตกต่างจากประเทศสาธารณรัฐเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นที่มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัวไว้โดยเฉพาะ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างให้ใช้สิทธิลาได้เมื่อมีความจำเป็นต้องดูแลบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นการรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุและสนับสนุนลูกจ้างในการสร้างความสมดุลในการทำงานกับการดูแลบุคคลในครอบครัว ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัวในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 รวมถึงการคุ้มครองลูกจ้างมิให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างหรือกระทำการที่ไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากลูกจ้างใช้สิทธิลาเพื่อดูแลครอบครัว และการกำหนดบทลงโทษ ตลอดจนมาตรการอื่นที่ช่วยส่งเสริมให้ลูกจ้างสามารถดูแลบุคคลในครอบครัวได้ เช่น การลดชั่วโมงการทำงาน การขอเลื่อนเวลาทำงานเริ่มต้นหรือสิ้นสุด การจำกัดการทำงานล่วงเวลา การจำกัดเวลาการทำงานในเวลากลางคืน เป็นต้น รวมทั้งนายจ้างควรมีการบริหารจัดการให้ลูกจ้างสามารถลาเพื่อดูแลครอบครัวได้ เพื่อรักษาบุคลากรไว้กับองค์กรและส่งเสริมการสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงานแก่ลูกจ้าง
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ