![]() |
ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก: กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จักรพงศ์ ศิริโส |
Title | ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก: กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย |
Contributor | ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 11 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 221-240 |
Keyword | เศรษฐกิจฐานราก, เทศบาล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | การศึกษานี้ มุ่งอธิบายถึงศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเป็นหน่วยในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานราก กรณีศึกษาเทศบาลในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เก็บรวบรวมโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างจากผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการท้องถิ่น ข้าราชการจากส่วนราชการ และประชาชนในพื้นที่จังหวัดหนองคายจำนวน 5 อำเภอ เป็นการเลือกแบบเจาะจงคือ เทศบาลเมืองหนองคาย เทศบาลเมืองท่าบ่อ เทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ เทศบาลตำบลสังคม และเทศบาลตำบลโพนพิสัย มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการค้นหาแก่นสาระ (thematic analysis approach) ผลการวิจัยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับเทศบาลในจังหวัดหนองคายที่เป็นพื้นที่ศึกษา มีศักยภาพและความสนใจในการเป็นหน่วยในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยเกื้อหนุน เช่น ระบบนิเวศทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว การมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจ พื้นที่มีความเหมาะสมในเชิงยุทธศาสตร์การค้าชายแดน ประชาชนในพื้นที่มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ เป็นต้น อย่างไรก็ตามท้องถิ่นยังขาดความพร้อมอันเกิดจากข้อจำกัดของการกระจายอำนาจทางการคลังและบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้รองรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องรีบเร่งให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดจากความเข้มแข็งของฐานรากผ่านกลไกการบริหารของท้องถิ่น |