การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน : เรียนรู้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
รหัสดีโอไอ
Creator วิระชัย ขันตี
Title การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน : เรียนรู้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
Contributor สิรินดา กมลเขต
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2564
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 10
Journal No. 1
Page no. 248 - 273
Keyword การบริหารจัดการ, วิสาหกิจชุมชน, บ้านโพนแพง
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้นำและสมาชิกกลุ่ม และการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกทั้งหมดจำนวน 65 คน สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โดยจำแนกชนิดข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกของกลุ่มมีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.3 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 55.4 ระดับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ70.8 ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มระหว่าง 16 -20 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.9 และมีรายได้ 6,001-8,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 27.7 สำหรับสภาพการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับดีที่สุด ด้านที่อยู่ในระดับดีที่สุดคือด้านการอำนวยการ ปัจจัยการบริหารจัดการ ภาพรวมอยู่ในระดับดีที่สุด ด้านที่ดีที่สุดคือด้านการผลิตสินค้า ส่วนปัญหาของกลุ่ม คือด้านการจัดการเครือข่าย สมาชิกลุ่มยังขาดความรู้ ทักษะต่างๆ ไม่มีการแบ่งงานกันทำที่ชัดเจน ข้อเสนอแนะ ด้านการบริหารจัดการ ควรเพิ่มด้านการควบคุม การจำหน่ายสินค้า การทำระบบรายงาน การบันทึกและการทำบัญชี ให้ชัดเจนมากขึ้น, ด้านปัจจัยการบริหาร ควรเพิ่มด้านการพึ่งพาตนเอง ให้มีความสามัคคี ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย ต้องช่วยกันฟื้นฟู รักษา เสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่, ด้านปัญหาการบริหารจัดการคือการขาดความสนใจของคนรุ่นใหม่ ควรเร่งให้มีการสืบสานความรู้ในด้านการผลิตผ้าครามให้กับคนในชุมชน หรือบุตรหลานให้มากขึ้น หรือส่งเสริมการเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนรุ่นถัดไปหรือคนที่สนใจทั่วไปเข้ามาศึกษาจะทำให้ไม่สูญหาย
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ