รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
รหัสดีโอไอ
Creator ทวีภรณ์ วรชิน
Title รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2564
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 10
Journal No. 1
Page no. 163 - 195
Keyword รูปแบบ, แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา, แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ 2) สร้างรูปแบบ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ 4) ประเมินคุณภาพนักเรียนและประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง หลังจากการใช้รูปแบบสำหรับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ กลุ่มเป้าหมายมี กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร ครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา และผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 57 คน กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คน กลุ่มที่ 4 ผู้บริหาร ครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา และผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 229 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลบรรยายเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของความเป็นแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและท้องถิ่น มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารจัดการศึกษา 2) การจัดการเรียนการสอน 3) คุณภาพผู้เรียน 4.การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 5.การนิเทศการศึกษา และ 6.การให้บริการแหล่งเรียนรู้ 2. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและท้องถิ่น มี 7 ขั้นตอน คือ APISIDE ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ 2) การวางแผน 3) การจัดการเรียนรู้ 4) การให้บริการ 5) การสร้างนวัตกรรมและการเชื่อมโยงความรู้สู่สากล 6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และ 7) การประเมินผลและเผยแพร่ และคู่มือการใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ 3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ พบว่า มีระดับการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4. ผลการประเมินคุณภาพนักเรียนและประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง หลังใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงขึ้นทุกระดับชั้น ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ