![]() |
มาตรการทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษีคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สมพัฒน์ มีมานัส |
Title | มาตรการทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษีคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทย |
Contributor | เสถียรภาพ นาหลวง |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 129 - 162 |
Keyword | กฎหมายภาษี, มาตรการจัดเก็บภาษี, คริปโทเคอร์เรนซี |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | การศึกษามาตรการการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากคริปโทเคอร์เรนซีมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงปัญหาการจัดเก็บภาษีของคริปโทเคอร์เรนซี โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศด้วยการใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยได้มีกฎหมายมาตรการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากคริปโทเคอร์เรนซี ได้แก่ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2561 ซึ่งได้กำหนดให้ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซี ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ฌ) อย่างไรก็ดี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซีมิได้มีเพียงการซื้อขายเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การขุด (Mining) การให้โดยเสน่หา การได้รับมรดก การแตกหน่วยใหม่ และการนำคริปโทเคอร์เรนซีมาใช้ชำระหนี้ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรของไทยมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะ ในขณะที่ต่างประเทศมีกฎหมายกำหนดไว้ในแต่ละเรื่องโดยเฉพาะ ทำให้การจัดเก็บภาษีคริปโทเคอร์เรนซีตามกฎหมายไทยยังมีช่องว่างในทางกฎหมายที่ไม่อาจปฏิบัติได้อย่างแท้จริง เมื่อกฎหมายของไทยที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมถึงการทำธุรกรรมแบบต่าง ๆ ได้ทั้งหมด จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 40 ให้ครอบคลุมถึงกิจกรรมอื่น ๆ และเพิ่มเติมหลักการคำนวณต้นทุน ทั้งนี้ประเทศไทยควรมีแบบรายงานการโอนคริปโทเคอร์เรนซีที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องนำแสดงรายงานทุกครั้งอันจะทำให้รัฐสามารถตรวจสอบการจัดเก็บภาษีคริปโทเคอร์เรนซีได้ถูกต้องชัดเจน |