หลักการทางกฎหมายของประเทศไทย ในการคุ้มครองสิทธิเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกทางสื่อออนไลน์
รหัสดีโอไอ
Creator ฟ้าใส สามารถ
Title หลักการทางกฎหมายของประเทศไทย ในการคุ้มครองสิทธิเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกทางสื่อออนไลน์
Contributor คณาธิป ทองรวีวงศ์
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2564
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 10
Journal No. 1
Page no. 77 - 100
Keyword สิทธิเด็ก, กลั่นแกล้งรังแก, สื่อออนไลน์
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract ในประเทศไทยนั้น เด็กเป็นอีกกลุ่มบุคคลที่มีการฆ่าตัวตาย โดยปัจจัยของการฆ่าตัวตายมักเกิดจากปัญหาในเรื่องการเรียน ปัญหาเรื่องความรัก ปัญหาครอบครัว และปัญหาการวางตัวในสังคม ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้เด็กเกิดอาการซึมเศร้า ขาดที่พึ่ง และไม่สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาในทางที่ถูกต้องเหมาะสมได้ อันนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการฆ่าตัวตายของเด็กคือการอับอายจากพฤติกรรมต่างๆทางสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการประจาน การล้อเลียน ทางเฟซบุ๊กและในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงปัญหาในการปรับใช้กฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ และ 2) ศึกษาหลักการของกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักการของกฎหมายของประเทศไทย โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า องค์การสหประชาชาติได้พัฒนาการคุ้มครองเด็กให้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการประกาศอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก หรือ Convention on the Rights of the Child 1989 ขึ้นในปี พ.ศ.2532 โดยสิทธิประการแรกได้ให้การรับรองและเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามไม่ให้มีการใช้สื่อออนไลน์ในการยั่วยุให้เด็กฆ่าตัวตาย จากการศึกษากฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งในระดับรัฐบาลกลางและระดับมลรัฐ พบว่า ในระดับรัฐบาลกลางนั้น อยู่ในระหว่างการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการป้องกันการแกล้งทางออนไลน์ ทั้งนี้ในระดับมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการแกล้งทางออนไลน์ระดับมลรัฐจำนวนทั้งสิ้น 22 มลรัฐ เมื่อศึกษาถึงกฎหมายของประเทศแคนาดา พบว่ามีกฎหมายระดับรัฐบาลกลางเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้แก่ พระราชบัญญัติปกป้องชาวแคนาดาจากอาชญากรรมออนไลน์หรือ Protecting Canadians from Online Crime Act ทั้งนี้ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีทั้งสิ้น 3 ฉบับ ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 2) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 และ 3) ประมวลกฎหมายอาญา โดยประมวลกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายสำคัญในการปรามผู้กระทำผิด แต่ไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์โดยเฉพาะ แต่มีฐานความผิดที่เกี่ยวข้อง และอาจนำมาปรับใช้ได้ คือความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งการกลั่นแกล้งเด็กออนไลน์ จะเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามมาตรา 328 มีโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท จึงเห็นสมควรให้มีกฎหมายเฉพาะที่มีลักษณะพิเศษในการคุ้มครองเด็กจากการถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา โดยระบุลักษณะความผิดและฐานความผิด รวมทั้งระดับอายุของผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองและผู้กระทำผิดตามกฎหมายฉบับนี้ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่คิดจะกระทำความผิดได้หวาดกลัวต่อโทษทางกฎหมายที่จะเกิดขึ้น
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ