![]() |
การประเมินการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ |
Title | การประเมินการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Contributor | นราธิป ศรีราม, กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, ลักษณา ศิริวรรณ, พนมพัทธ์ สมิตานนท์, กาญจนา บุญยัง, สุปัญญดา สุนทรนนธ์, สุวิดา นวมเจริญ, พิชยา ชวากร, นพพล อัคฮาด |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 33-72 |
Keyword | การประเมินและการพัฒนา, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และประเมินหลักสูตร รป.บ.(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการโดยการวิเคราะห์หลักสูตรด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการใช้หลักสูตร และผลการใช้หลักสูตร 2) เสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โดยข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในการวิจัยเชิงปริมาณได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม นักศึกษาปัจจุบัน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 363 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับการวิจัยเชิงุณภาพ เก็บข้อมูลจากอาจารย์ประจำ จำนวน 13 คน เจ้าหน้าที่ มสธ.จำนวน 15 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยใช้การสนทนากลุ่มย่อยในการเก็บข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลที่ได้ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการสรุปอุปนัย ผลการวิจัยประเมินหลักสูตรพบว่า 1.ทุกองค์ประกอบที่ประเมินมีความเหมาะสมและมีคุณภาพผ่านการประเมินผล กล่าวคือ 1) ด้านบริบท ทั้งนักศึกษา และอาจารย์ประจำแขนงวิชาบริหารรัฐกิจเห็นว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความชัดเจน ตอบสนองความต้องการของนักศึกษา บัณฑิต และความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม สอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัยและองค์กรวิชาชีพ พร้อมกันนี้นักศึกษา และอาจารย์เห็นว่าชุดวิชาในหมวดวิชาต่างๆ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเหมาะสมที่จัดไว้โครงสร้างของหลักสูตรในระดับมากที่สุด สำหรับสำหรับชุดวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาเฉพาะนักศึกษา และอาจารย์เห็นว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและมีความเหมาะสม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า นักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ มสธ. เห็นว่าเอกสารการสอน แหล่งการเรียนรู้ และคุณภาพของสื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมและคุณภาพในระดับมากที่สุด ในขณะเดียวกันอาจารย์เห็นว่าศักยภาพและความพร้อมของผู้สอนมีอยู่ในระดับสูง 3) กระบวนการดำเนินงานซึ่งเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ดำเนินการในด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและการประเมินผล ด้านการบริการและการจัดการการศึกษาของมหาวิทยาลัย ทั้ง คณาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ มสธ. เห็นว่ามีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมิน 4) ด้านผลผลิต ทั้งอาจารย์และผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าบัณฑิตบริหารรัฐกิจมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับที่มากที่สุด 2.สำหรับแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตควรมุ่งเน้นการสร้างนักบริหารที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งควรเปิดวิชาเอกที่สำคัญ คือ1) วิชาเอกการจัดการภาครัฐและเอกชน 2) วิชาเอกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 3) วิชาเอกการบริหารท้องถิ่นและการจัดการเมือง ซึ่งควรมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 5 ชุดวิชา(30 หน่วยกิต) หมวดวิชาเฉพาะ 9 ชุดวิชา(54 หน่วยกิต) หมวดวิชาเฉพาะเอก 5 ชุดวิชา( 30 หน่วยกิต) และวิชาเลือกเสรี 1 (6 หน่วยกิต) ชุดวิชา รวม 20 ชุดวิชา คิดเป็น 120 หน่วยกิต ใช้ระยะเวลาศึกษา 4 ปีการศึกษาในส่วนของเนื้อหาหลักสูตรนั้นควรเป็นเนื้อหาที่สะท้อนองค์ความรู้ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ทั้งสิ้น 5 องค์ความรู้ได้แก่ องค์การและการจัดการ นโยบายสาธารณะ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และการคลังและงบประมาณ โดยยังคงคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตามเดิม |