ผลกระทบของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ (ไทยนิยม ยั่งยืน) ต่อกลไกการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา: อำเภอเมืองขอนแก่น
รหัสดีโอไอ
Creator จุฑาวรรณ ลาจันทึก
Title ผลกระทบของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ (ไทยนิยม ยั่งยืน) ต่อกลไกการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา: อำเภอเมืองขอนแก่น
Contributor ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2564
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 10
Journal No. 1
Page no. 523 - 550
Keyword การจัดทำบริการสาธารณะ, โครงการไทยนิยมยั่งยืน, การปกครองท้องถิ่น
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online)
Abstract งานวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามว่า โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ฐานรากในพื้นที่ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท) มีผลกระทบต่อกลไกการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อย่างไร งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเฉพาะกรณีศึกษาในพื้นที่เทศบาลตำบล 4 แห่ง ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอ 1 คน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แห่งละ 1 คน ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในพื้นที่ของแต่ละเทศบาล รวมทั้งสิ้น 20 คน ผลการวิจัย พบว่า การจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท) ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีความซ้ำซ้อนกับโครงการปกติที่ทางเทศบาลแต่ละแห่งได้จัดทำอยู่แล้ว และในทางปฏิบัติจริงได้พึ่งพาบุคลากรของเทศบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ วัสดุและครุภัณฑ์ที่เป็นทรัพย์สินของโครงการทางเทศบาลไม่สามารถให้การบำรุงรักษาได้เนื่องจากไม่ได้เป็นทรัพย์สินของเทศบาล การมีส่วนร่วมและการตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ต่อการดำเนินโครงการไม่มีความแตกต่างไปจากโครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของเทศบาล ดังนั้นจึงไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาล จากข้อค้นพบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท) ควรจะมีการบูรณาการหรือลดความซ้ำซ้อนกับการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ