![]() |
พัฒนาการนโยบายไฟป่าและหมอกควัน : กรณีศึกษานโยบายไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | มัทนา ปัญญาคำ |
Title | พัฒนาการนโยบายไฟป่าและหมอกควัน : กรณีศึกษานโยบายไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่ |
Contributor | พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 407 - 446 |
Keyword | นโยบาย, ไฟป่า หมอกควัน, ห้ามเผา |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print);ISSN 2773-9791 (Online) |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบาย 1. พัฒนาการและลักษณะของนโยบายไฟป่าและหมอกควันประเทศไทย และ 2.นโยบายไฟป่าและหมอกควันจังหวัดเชียงใหม่ผ่านกรอบแนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วมและการวิเคราะห์ผ่านหลักการการออกแบบสถาบันในการจัดการทรัพยากรร่วมโดย Elinor Ostrom การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวทางการพรรณนาตีความ ใช้วิธีการเก็บข้อมูล 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 1. เอกสารรูปแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ 2. การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการนโยบายไฟป่าและหมอกควันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ 1) ยุคก่อนนโยบายห้ามเผา (พ.ศ.2484 - 2550) มีนโยบายได้แก่ นโยบายป่าไม้, นโยบายหมอกควัน และนโยบายบรรเทาสาธารณภัย รัฐไทยไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในแง่หลักวิชาการบริหารป่าไม้ มากไปกว่านั้น รัฐไทยมุ่งเน้นการเอาคนชนบทออกจากป่าและการลงโทษผู้ก่อให้เกิดไฟป่า และ 2) ยุคนโยบายห้ามเผา (พ.ศ.2556) ที่ได้ออกมาตรการห้ามเผาที่ทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่คาดคิด ได้แก่ เกษตรกร และการจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า และผลวิจัยยังพบว่า รัฐออกมาตรการมาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แม้ว่าสถานการณ์ในจังหวัดยังคงมีความรุนแรงนับมาตั้งแต่ปี 2550 นโยบายไฟป่าและหมอกควันที่ผ่านมาอยู่ในรูปแบบการจัดการทรัพยากรร่วมโดยรัฐ และเมื่อพิจารณาหลักการการออกแบบสถาบันในการจัดการทรัพยากรร่วม พบว่า มีความสอดคล้องกับหลักการของ Ostrom ในระดับที่ต่ำ โดยเฉพาะการกีดกันไม่ให้ชนบทในฐานะผู้ใช้ทรัพยากรได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย จึงไม่ก่อให้เกิดกรอบความร่วมมือในเชิงนโยบาย และประสบกับความล้มเหลวในที่สุด ดังนั้น ผู้วิจัยเสนอว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงกติกาเชิงสถาบันไปเป็นการจัดการทรัพยากรร่วมรูปแบบผสมระหว่างชุมชนและรัฐ มากกว่าเน้นตัวแสดงใดตัวแสดงหนึ่ง |