การศึกษาเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเด็ก และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 กรณีเด็กอุ้มบุญ
รหัสดีโอไอ
Creator พรนิภา วิเศษสุวรรณ
Title การศึกษาเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเด็ก และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 กรณีเด็กอุ้มบุญ
Contributor โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2563
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 9
Journal No. 2
Page no. 409 - 434
Keyword การตั้งครรภ์แทน, เด็กอุ้มบุญ, หลักการคุ้มครองสิทธิเด็ก
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print)
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมา วัตถุประสงค์ หลักการคุ้มครองเด็กของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 กรณี เด็กอุ้มบุญ เพื่อเสนอแนะเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายสามารถคุ้มครองสิทธิเด็กเกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์อย่างได้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยการทบทวนวรรณกรรม มุ่งเน้นศึกษาด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 7 ท่าน เป็นผู้ที่มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตั้งครรภ์และการจัดทำกฎหมายของประเทศไทย แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบสรุปพรรณนา ให้รายละเอียด ผลการวิจัยพบว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับเกิดจากปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำกฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็กของแต่ละประเทศให้มีมาตรฐาน เทียบเท่าหรือสูงกว่าที่กำหนไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ประเทศไทยได้จัดทำพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กอุ้มบุญ โดยใช้หลักความคุ้มครองสิทธิเด็กของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นบรรทัดฐานในการจัดทำ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตาม มาตรฐาน หลักความคุ้มครองสิทธิเด็กที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาฯ อีกทั้งเมื่อศึกษาลึกลงไปยังพบว่าพระราชบัญญัติฯ ยังไม่สามารถ ให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กอุ้มบุญได้ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้ ยังมีความย้อนแย้งของตัวพระราชบัญญัติในเรื่องการใช้เซลล์สืบพันธุ์ในกระบวนการตั้งครรภ์แทน อีกทั้งการตรวจวินิจฉัยโรคของผู้เกี่ยวข้องที่ยังไม่มีความเข้มงวด สุ่มสี่ยงเกิดปัญหาโรคทางพันธุกรรมหรือโรคที่อาจติดต่อจากแม่อุ้มบุญได้ทำให้เด็กอุ้มบุญอาจถูกท้องทิ้ง ข้อเสนอแนะจากการวิจัย รัฐบาลไทยควรดำเนินการ 1) ปรับปรุงพระราชบัญญัติฯ ให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักความคุ้มครองสิทธิเด็กที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและคำนึงถึงสิทธิของเด็กอุ้มบุญที่เกิดจากกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย 2) ไม่ควรใช้เซลล์สืบพันธุ์บริจาคมาใช้ในกระบวนการตั้งครรภ์แทน และเข้มงวดในเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคโดยกำหนดโรคที่ควรต้องตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจทั่วไป 3) ควรเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายกับแพทย์ที่ให้บริการและหญิงที่รับตั้งครรภ์ควรให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้  
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ