ตัวแบบเครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว กรณีศึกษาตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
รหัสดีโอไอ
Creator ฮัสสัน ดูมาลี
Title ตัวแบบเครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว กรณีศึกษาตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
Contributor รอยฮาน สะอารี, ปารีซะ รักเกื้อ
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2563
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 9
Journal No. 2
Page no. 380 - 408
Keyword ตัวแบบเครือข่าย, เครือข่ายจัดการการท่องเที่ยว, ชุมชนท่องเที่ยว
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาตัวแบบเครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวในตำบลแหลมโพธิ์อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ซึ่งใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เครื่องมือการเก็บข้อมูลได้แก่ การสนทนากลุ่ม โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหาร สมาชิกและข้าราชการท้องถิ่นประจำองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์ ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนา ภาคประชาสังคม ผู้ประกอบการ ตัวแทนหน่วยงานราชการในระดับต่างๆ โดยดำเนินการสนทนากลุ่ม 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ประเด็น ภาคีเครือข่ายกลไกการทำงาน และบทบาทหน้าที่ ครั้งที่ 2 พิจารณาผลการศึกษาที่ผ่านมาและสังเคราะห์ผล วิธีการดำเนินการวิจัยต่อมาคือ การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่ถูกเสนอให้เป็นภาคีเครือข่ายในประเด็นตัวแทนภาคีเครือข่ายและบทบาทหน้าที่ และสุดท้ายการนำเสนอข้อมูลที่สังเคราะห์ผลให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง ชุมชนและผู้ประกอบการ ผลการศึกษาตัวแบบตัวแบบเครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวตำบลแหลมโพธิ์ เป็นเครือข่ายที่การปกครองสาธารณะแบบใหม่ซึ่งประกอบด้วย ภาคส่วนรัฐและชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการ เป็นภาคีเครือข่ายประสานการทำงานเป็นคณะกรรมการมาที่จากตัวแทน 8 ภาคส่วน จำนวน 22 คน ขับเคลื่อนการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวตำบลแหลมโพธิ์โดยมีแผนพัฒนาท่องเที่ยวตำบลเป็นตัวกำหนดทิศทาง มีกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเครือข่ายคือองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์เป็นแกนกลางและประสานงาน ในขณะที่อำเภอมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่าย โดยภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวตำบลตามบทบาทหน้าที่ ลักษณะโครงสร้างเครือข่ายมีสถานภาพเท่าเทียมกันและไม่มีการลำดับบังคับบัญชา
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ