ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมรายได้ภาคครัวเรือนเกษตรในจังหวัดชัยภูมิ
รหัสดีโอไอ
Creator สมปอง สุวรรณภูมา
Title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมรายได้ภาคครัวเรือนเกษตรในจังหวัดชัยภูมิ
Contributor ศิริพร พึ่งเพ็ชร์, ลักขณา สุกใส
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2563
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 9
Journal No. 2
Page no. 357 - 379
Keyword หน่วยงานภาครัฐ, ครัวเรือนเกษตร, จังหวัดชัยภูมิ
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print)
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมรายได้ของภาคครัวเรือนเกษตรในจังหวัดชัยภูมิ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมรายได้ของภาคครัวเรือนเกษตรในจังหวัดชัยภูมิ ใช้วิธีวิจัยแบบผสม กล่าวคือ การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือคือแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ วิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมรายได้ของภาคครัวเรือนเกษตรในจังหวัดชัยภูมิ มี 6 ปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ รายได้เฉลี่ยรวมของครัวเรือน X3 ภาระหนี้สินของครัวเรือนX5 จำนวนผู้พึ่งพิงในครัวเรือน X4 สถานภาพการทำงานของหัวหน้าครัวเรือน X2 เขตที่อยู่อาศัยของครัวเรือน X6 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนX1 โดยทั้ง 6 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมรายได้ของภาคครัวเรือนเกษตรอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ 15.255ZX3+19.441ZX515.124ZX4+4.091ZX23.447ZX6+3.832ZX1 สำหรับแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมรายได้ของภาคครัวเรือนเกษตรในจังหวัดชัยภูมิ คือ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรประจำจังหวัด ควรแก้ปัญหาหนี้สิน ส่งเสริมด้านการออม จัดทำต้นทุนการเกษตรกรรม จัดทำรายรับ-รายจ่าย ส่งเสริมพัฒนาให้ชุมชนจัดทำโครงการกองทุนหมู่บ้านให้มีรายได้จากการทำเกษตรกรรมครัวเรือน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจัดทำอุตสาหกรรมครัวเรือน ปลูกผักสวนครัว แปรรูปอาหารการเกษตรจัดตั้งกองทุนการเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น ในการลดต้นทุนแต่เพิ่มรายได้ในภาคครัวเรือนจากการปลูกผักสวนครัวภาคครัวเรือนอบรมเกี่ยวกับการออมของครัวเรือนสร้างวินัยให้แก่สมาชิกครัวเรือนการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากผักสวนครัวสร้างรายได้แบบผสมผสานโดยเศรษฐกิจพอเพียง และสำนักงานเกษตรประจำจังหวัด ส่งเสริมการสร้างรายได้จากเศรษฐกิจพอเพียง ให้ชุมชนจัดทำกองทุนหมู่บ้านสร้างอาชีพรองจากการทำการเกษตร
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ