![]() |
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ลัดดาวรรณ นนปะติ |
Title | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม |
Contributor | วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 289-305 |
Keyword | การมีส่วนร่วมของประชาชน, การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, People ‘s participation, the Local Development Planning, Local Administrative Organization |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จำแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านการรับรู้ของ ประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บข้อมูลการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 375 รายที่มีภูมิลำเนาใน เขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม แล้วทำ การวิเคราะห์ผลโดยค่าสถิติผลการวิจัยพบว่าระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบระดับการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามปัจจัยคุณลักษณะ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ อาชีพ ระยะเวลาที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ รายได้มีผลต่อ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในระดับที่แตกต่าง กัน ส่วนปัจจัยด้านการศึกษาไม่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และการรับรู้ข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นมี ความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ทั้งนี้กำหนดความเชื่อมมั่นไว้ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 |