การศึกษาเชิงอภิมานงานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากร ป่าชุมชนในประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator ปัญจพร คำโย
Title การศึกษาเชิงอภิมานงานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากร ป่าชุมชนในประเทศไทย
Contributor ปรารถนา ยศสุข, เฉลิมชัย ปัญญาดี, สายสกุล ฟองมูล
Publisher สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Publication Year 2559
Journal Title วารสารการบริหารปกครอง
Journal Vol. 5
Journal No. 2
Page no. 237-255
Keyword การบริหารจัดการ, ป่าชุมชน, การอภิมาน, Management, Community Forest, Meta-Analysis
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu
Website title วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ISSN ISSN 2697-4029 (Print)
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) วิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชุมชน 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชุมชน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการ บริหารจัดการทรัพยากรป่าชุมชน 4) เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการบริหาร จัดการทรัพยากรป่าชุมชน โดยใช้วิธีการศึกษาเขิงอภิมาน งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ในช่วงปี พ.ศ.2533 – 2555 จำนวน 305 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลการวิจัย คุณลักษณะงานวิจัยในแต่ละเล่มสามารถสรุปได้ว่า ปีการศึกษาที่พิมพ์ เผยแพร่มากที่สุดคือ พ.ศ.2546 สถาบันการศึกษาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาที่ผลิตงานวิจัยด้านนี้มากที่สุดคือ ส่งเสริมการเกษตร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชุมชนที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูล ลักษณะประชากร (เช่น เพศ, อายุ, อาชีพ, ระดับการศึกษา, จำนวนสมาชิกใน ครัวเรือน เป็นต้น) บทบาทภาครัฐ การใช้ประโยชน์จากป่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ป่าชุมชน และสภาพป่า ตามลำดับ สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า การบริหารจัดการทรัพยากรป่าชุมชน จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความ ร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยอาศัยกระบวนการในการบริหารจัดการ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผนดำเนินการ การดำเนินการ และการติดตามประเมินผล มี ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ 6 ข้อ คือ 1.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ บริหารจัดการทรัพยากรป่าชุมชน 2.การเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน และการพัฒนาเครือข่าย 3.การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากร ฟื้นฟู อนุรักษ์ 4. การพัฒนาคนเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรที่ใช้ ประโยชน์ร่วมกัน 5.การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบโดยอาศัยความ ร่วมมือจากทุกภาคส่วน 6.การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการและความ เข้าใจกฎระเบียบ
Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts, Kalasin University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ