![]() |
การศึกษานำร่อง : ความเหมาะสมของเครื่องมือทางนโยบายด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรในจังหวัดนนทบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ษิตาพร สุริยา |
Title | การศึกษานำร่อง : ความเหมาะสมของเครื่องมือทางนโยบายด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรในจังหวัดนนทบุรี |
Publisher | สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | วารสารการบริหารปกครอง |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 104-123 |
Keyword | เครื่องมือทางนโยบาย, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, พฤติกรรมการบริโภค, Policy instruments, NCDs, Consumption behavior |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu |
Website title | วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ISSN | ISSN 2697-4029 (Print) |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการบริโภคดีของประชากรในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงาน ตามนโยบายด้านโรค NCDs ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขใน จังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของเครื่องมือทางนโยบายด้านโรค NCDs ต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรในจังหวัดนนทบุรี ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้การเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม 400 ชุด เพื่อศึกษาภาพรวมเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านแรง ขับ และปัจจัยด้านเครื่องมือทางนโยบายโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีอิทธิพลต่อการเกิด พฤติกรรมการบริโภคที่ดีในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบ สนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ยังไม่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรค NCDs 8 คน และการ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรค NCDs และเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลรัฐในจังหวัดนนทบุรี 5 คน และเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขที่ เกี่ยวข้อง 6 คน เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงขับและปัจจัยด้านเครื่องมือทางนโยบายด้าน โรค NCDs ในเชิงรายละเอียดที่ลึกขึ้น ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ต่อการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค NCDs นอกจากนี้ ปัจจัยด้านแรงขับทางด้านสภาพเศรษฐกิจ และลักษณะการประกอบอาชีพ และปัจจัยด้านเครื่องมือทางนโยบายโรค NCDs ทางด้านการส่งเสริมให้มีแหล่งอาหาร ที่ดีในชุมชนส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ดีอยู่ในระดับที่ค่อนข้างไม่ดี ในส่วนของ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การดำเนินนโยบายด้านโรค NCDs ของจังหวัดนนทบุรี นั้นมีเพียงแค่วัตถุประสงค์ของนโยบายเท่านั้นที่ชัดเจน แต่ยังขาดความสมบูรณ์หรือ ความพร้อมทั้งทางด้านงบประมาณ บุคลากร ความเข้าใจที่ตรงกันของเจ้าหน้าที่ การ บังคับใช้กฎหมายที่มีมาตรฐานเดียวกัน รวมไปถึงสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และ ลักษณะสภาพความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมเมือง เหล่านี้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องมือทางนโยบายด้านโรค NCDs ที่ใช้อยู่ไม่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลเท่าที่ควร |