ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในรายวิชาเคมีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคใต้ของประเทศไทย ในช่วงที่มีการระบาดของโคโรนาไวรัส
รหัสดีโอไอ
Creator ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย
Title ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในรายวิชาเคมีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคใต้ของประเทศไทย ในช่วงที่มีการระบาดของโคโรนาไวรัส
Contributor อลภา ทองไชย, วารุณี หะยีมะสาและ
Publisher ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2566
Journal Title วารสารครุศาสตร์
Journal Vol. 51
Journal No. 1
Page no. EDUCU5101009 (12 pages)
Keyword สะเต็มศึกษา, กระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
URL Website https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/index
Website title วารสารครุศาสตร์ (Journal of Education Studies)
ISSN 2651-2018
Abstract การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษายังไม่ถูกนำมาใช้ในโรงเรียนอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะโรงเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบสะเต็มศึกษากับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้กระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนในภาคใต้จำนวนสี่แห่งที่เข้าร่วมโครงการห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ (SMP) จากนักเรียนทั้งหมด 120 คนในโรงเรียนเหล่านั้น มีเพียง 9 คนที่ได้รับการคัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ผลการประเมินโดยรวมพบว่ากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาเคมีเกี่ยวกับความเข้มข้นของสารละลายนั้นสามารถเพิ่มความสนใจของนักเรียนในการศึกษาวิชาเคมีและความเข้าใจต่อบทเรียนได้ดี เห็นได้จากคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนจากแผนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาหลังการทดสอบมีค่าอยู่ในระดับสูงสุด ค่า E1/E2 ของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในรายวิชาเคมีเท่ากับ 90.46/82.50 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด และยังพบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมนั้นสูงมากเมื่อใช้แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างชั้นเรียนชุมชนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รวมถึงประสิทธิภาพของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพยังได้รับการจัดอันดับอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาถึงตัวแปรอื่น ๆ นอกเหนือจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนที่จะนำไปขยายผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กับรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ