![]() |
เทคนิคการสอนเพื่อการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฟิสิกส์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 : การวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครูก่อนประจำการ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อัศวนนทปกรณ์ ธเนศวีรภัทร |
Title | เทคนิคการสอนเพื่อการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฟิสิกส์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 : การวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครูก่อนประจำการ |
Publisher | ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารครุศาสตร์ |
Journal Vol. | 50 |
Journal No. | 4 |
Page no. | EDUCU5004005 (13 pages) |
Keyword | เทคนิคการสอนฟิสิกส์, มโนทัศน์ฟิสิกส์, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, สมรรถนะสำคัญห้าประการ, นิสิตครูก่อนประจำการ |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/index |
Website title | วารสารครุศาสตร์ (Journal of Education Studies) |
ISSN | 2651-2017 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) วิเคราะห์บทความวิจัยทางด้านการเรียนการสอนฟิสิกส์ที่ตีพิมพ์ในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 และตรวจสอบเทคนิคการสอนที่ใช้ส่งเสริมความเข้าใจมโนทัศน์ฟิสิกส์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสมรรถนะสำคัญห้าประการ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) วิเคราะห์วิธีการใช้เทคนิคการสอนออนไลน์ที่นิสิตครูฟิสิกส์ก่อนประจำการเลือกใช้และปรากฏในแผนการจัดการเรียนรู้ภายใต้บริบทการสอนแบบออนไลน์ การศึกษานี้ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการลงรหัสแบบอุปนัยของเอกสารบทความวิจัย 79 ฉบับ และแผนการจัดการเรียนรู้ 85 ฉบับ ผลการวิจัย พบว่า ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 การใช้โปรแกรมประยุกต์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ การใช้โปรแกรมจำลองสถานการณ์ และวีดิทัศน์แบบออนไลน์ เป็นวิธีการที่ถูกใช้มากที่สุดสำหรับพัฒนานักเรียนในแต่ละด้าน นิสิตครูฟิสิกส์ก่อนประจำการมีการบูรณาการเทคนิคการใช้สื่อดิจิทัลในแผนการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ได้หลากหลายวิธี เช่น การอธิบายมโนทัศน์ การฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมกันแบบออนไลน์ นอกจากนี้ยังพบว่า วีดิทัศน์แบบออนไลน์เป็นเทคนิคที่ครูก่อนประจำการเลือกใช้มากที่สุดในการสร้างความเข้าใจมโนทัศน์ทางฟิสิกส์ให้กับนักเรียน การใช้โปรแกรมจำลองสถานการณ์ถูกเลือกใช้มากที่สุดในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน รวมถึงการใช้วีดิทัศน์แบบออนไลน์ประกอบการใช้คำถามกระตุ้นการคิดถูกเลือกใช้มากที่สุดสำหรับส่งเสริมสมรรถนะห้าประการ |