![]() |
ความเที่ยงภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ต่างกันของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภัคจิรา จงสุกใส |
Title | ความเที่ยงภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ต่างกันของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง |
Contributor | กมลวรรณ ตังธนกานนท์ |
Publisher | ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารครุศาสตร์ |
Journal Vol. | 50 |
Journal No. | 4 |
Page no. | EDUCU5004001 (13 pages) |
Keyword | แบบสอบอัตนัยประยุกต์, ทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์, ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง, วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้น, ความเที่ยง |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/index |
Website title | วารสารครุศาสตร์ (Journal of Education Studies) |
ISSN | 2651-2017 |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์และวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) ตรวจสอบคุณภาพวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (3) เปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 90 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และวิธีการตรวจให้คะแนน สถิติที่ใช้ คือ Cronbach’s alpha, Pearson’s Product Moment Correlation และ G-Coefficient ผลการวิจัย พบว่า (1) แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์แต่ละข้อสอดคล้องกระบวนการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้น ชั้นที่ 1 ประเมินข้อรายการย่อย ชั้นที่ 2 แปลงคะแนนชั้นที่ 1 (2) วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นมีความตรงเชิงเนื้อหาสอดคล้องกับแนวคำตอบความเที่ยงการตรวจให้คะแนนภายในผู้ประเมินและระหว่างผู้ประเมินมีค่าสูง และ (3) วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นมีความเที่ยงสูงกว่าวิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ตามลำดับ |