![]() |
การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุวัฒนธรรมศึกษา สำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เชษฐภูมิ วรรณไพศาล |
Title | การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุวัฒนธรรมศึกษา สำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ |
Contributor | อภิภา ปรัชญพฤทธิ์, อรรณพ พงษ์วาท |
Publisher | ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | Journal of Education Studies Chulalongkorn University |
Journal Vol. | 44 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 57-73 |
Keyword | การพัฒนา, รูปแบบ, การจัดการศึกษา, พหุวัฒนธรรมศึกษา, นิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพุนธุ์ |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU |
Website title | EDUCU |
ISSN | 2651-2017 (online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ 2) วิเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดีที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ และ 3) พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย นิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ระดับปริญญาตรี จำนวน 356 คน ที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จำนวน 11 แห่ง ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 และกลุ่มผู้บริหารสถาบัน กลุ่มผู้อำนวยการกองพัฒนาคุณภาพนิสิตนักศึกษา กลุ่มอาจารย์ผู้สอน กลุ่มละ 1 คน จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t- test) และการทดสอบไคสแคว์ (Chi-Square Test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์มีความคาดหวังในการจัดการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกองค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารสถาบัน องค์ประกอบที่ 2 หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และ องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาคุณภาพนิสิตนักศึกษา 2) แนวปฏิบัติที่ดีที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์พบ 5 แนวปฏิบัติ ได้แก่ ศูนย์พหุวัฒนธรรม (center for multicultural education) การออกแบบหลักสูตร (curriculum design) ความไวต่อวัฒนธรรมที่หลากหลาย (sensitivity to diverse culture) การดำรงอัตลักษณ์ของชาติ (preserve national identiy) และนโยบายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (participative education provision policy) และ 3) รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ การเรียนรู้แบบอิงเนื้อหา (content-based learning) การปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการที่จำเพาะเจาะจง (adapting to specific needs) การถ่ายโอนความรู้ข้ามวัฒนธรรม (transferring intercultural knowledge) การหลอมรวมชุมชนนิสิตนักศึกษา (integrated student community) การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม (participatory administration) สรุปคือ CATIP Model |