![]() |
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชดอก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทับท้อน จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภัทรสุดา ฤทธิชัย |
Title | ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชดอก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทับท้อน จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Contributor | ดวงเดือน สุวรรณจินดา, นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ |
Publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
Journal Vol. | 36 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 88-104 |
Keyword | การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน, ความสามารถในการสร้างแบบจำลอง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, ประถมศึกษา |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu |
Website title | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu |
ISSN | 2822-0730 (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างแบบจำลองและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง พืชดอกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง พืชดอกหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทับท้อน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบวิจัยเป็นกึ่งทดลองแบบ One-group pretest- posttest design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน แบบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลอง และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมาย ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานมีความสามารถในการสร้างแบบจำลอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชดอก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชดอกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 |