ผลการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกลียวการออกแบบชีวลอกเลียนในวิชาวิทยาศาสตร์
รหัสดีโอไอ
Creator กิตติศักดิ์ มโนพัฒนกร
Title ผลการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกลียวการออกแบบชีวลอกเลียนในวิชาวิทยาศาสตร์
Contributor ศุภมัย พรหมแก้ว, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ, วุฒิพงษ์ ทวีวงศ์
Publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Publication Year 2568
Journal Title วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Journal Vol. 36
Journal No. 1
Page no. 29-45
Keyword การอบรมเชิงปฏิบัติการ, การจัดการเรียนรู้, เกลียวการออกแบบชีวลอกเลียน, ครูวิทยาศาสตร์, นวัตกรรม
URL Website https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu
Website title https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu
ISSN 2822-0730 (Online)
Abstract การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกลียวการออกแบบชีวลอกเลียน (Biomimicry design spiral) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมและขยายผลค่อนข้างน้อย อีกทั้งเป็นความท้าทายของครูผู้สอนในวิชาชีววิทยาหรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพในการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างนวัตกรรมในชั้นเรียน ผู้วิจัยจึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกลียวการออกแบบชีวลอกเลียนของครูวิทยาศาสตร์ที่เข้าอบรม 2) เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกลียวการออกแบบชีวลอกเลียนของครูวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเข้าอบรม และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการอบรมของครูวิทยาศาสตร์ที่เข้าอบรม โดยผู้เข้าอบรมเป็นครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่สนใจและสมัครเข้าร่วมการอบรมจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกลียวการออกแบบชีวลอกเลียนของครูวิทยาศาสตร์ 2) แบบประเมินความพึงพอใจของครูวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการออกแบบกิจกรรมตามขั้นตอนของแนวคิดเกลียวการออกแบบชีวลอกเลียนได้ถูกต้องครบถ้วน และมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกลียวการออกแบบชีวลอกเลียน หลังเข้าอบรมในระดับสูง (x ̅=2.89, S.D.=0.05) สูงกว่าก่อนเข้าอบรม (x ̅=1.75, S.D.=0.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูวิทยาศาสตร์มีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.85, S.D.=0.26) จากผลการวิจัยควรมีการส่งเสริมการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดเกลียวการออกแบบชีวลอกเลียนให้มากขึ้น
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ