![]() |
กลับมายืนบนพื้นดิน: งานวิจัยเรื่องเล่าว่าด้วยชีวิตในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของผมด้วยการฝึกปฏิบัติตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชนินทร โสวนะปรีชา |
Title | กลับมายืนบนพื้นดิน: งานวิจัยเรื่องเล่าว่าด้วยชีวิตในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของผมด้วยการฝึกปฏิบัติตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษา |
Contributor | เพริศพรรณ แดนศิลป์, หิมพรรณ รักแต่งาม |
Publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
Journal Vol. | 36 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 138-152 |
Keyword | การวิจัยเรื่องเล่า, ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของชีวิต, การฝึกปฏิบัติตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษา |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu |
Website title | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu |
ISSN | 2822-0730 (Online) |
Abstract | งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจชีวิตในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของผู้วิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเรื่องเล่า (Narrative Inquiry) ในการสืบค้น ทบทวน และใคร่ครวญประสบการณ์ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของชีวิต ร่วมกับการฝึกปฏิบัติตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษา ซึ่งประกอบด้วย อานาปานสติ การฟังอย่างลึกซึ้ง การทำงานศิลปะมันดาลา และการเขียนสะท้อนสภาวะภายใน โดยผู้วิจัยแบ่งการทบทวนประสบการณ์ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1) ความฝันของพื้นดิน เป็นช่วงที่ผู้วิจัยแบกรับความคาดหวังจากครอบครัวและตัวเองที่ต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ต้องการมีอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้ดี 2) ทะยานสู่ท้องฟ้า เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสู่อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ที่สร้างความภาคภูมิใจให้ผู้วิจัยและครอบครัว พร้อมกับความคาดหวังที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อสิ่งที่ได้รับไม่เป็นไปตามความคาดหวังจึงสร้างความทุกข์ให้ผู้วิจัย ผู้วิจัยพยายามหาหนทางออกจากทุกข์จนทำให้ได้เข้ามาศึกษาที่ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 3) จากท้องฟ้าสู่พื้นดิน เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมาสู่การเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานแห่งหนึ่ง นับเป็นช่วงเวลาที่ผู้วิจัยประสบกับความยากลำบากและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่ทำให้ผู้วิจัยได้ฝึกฝนตนเองผ่านการปฏิบัติตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาอย่างเข้มข้น ความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านประกอบด้วย ช่วงที่ 1 หนีจากพื้นดินเดิม ช่วงที่ 2 การฝึกฝนท่ามกลางการเปลี่ยนผ่าน และช่วงที่ 3 กลับมายืนบนพื้นดิน ผลการวิจัยพบว่า ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านแต่ละช่วงส่งผลกระทบทั้งทางกายภาพและสภาวะจิตใจของผู้วิจัย การฝึกปฏิบัติตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาทำให้ผู้วิจัยสังเกตและกลับมาพิจารณาความทุกข์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เกิดสติรู้เท่าทันความคิด ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจและยอมรับตนเอง เกิดความเมตตากรุณาต่อตัวเองและผู้อื่น ส่งผลให้การตอบสนองต่อช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของผู้วิจัยเปลี่ยนไป ผู้วิจัยสามารถเผชิญการเปลี่ยนผ่านด้วยความเข้าใจ และมั่นคงมากขึ้น |