ภาพตัวแทนของอีสานในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่
รหัสดีโอไอ
Creator เกศสุดา นาสีเคน
Title ภาพตัวแทนของอีสานในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่
Contributor ชัยรัตน์ พลมุข
Publisher คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
Publication Year 2567
Journal Title ดำรงวิชาการ
Journal Vol. 23
Journal No. 2
Page no. 251 - 284
Keyword ภาพตัวแทน, อีสาน, กวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/damrong
ISSN 3027-6012
Abstract บทความนี้มุ่งศึกษาภาพตัวแทนของอีสานในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ทศวรรษ 2490 ถึงทศวรรษ 2560 ผลการศึกษาพบว่า ภาพตัวแทนของอีสานในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่มีทั้งความสืบเนื่องและการปรับเปลี่ยนอย่างมีพลวัตตามปัจจัยทางสังคม กล่าวคือ ในช่วงทศวรรษ 2490 ภาพตัวแทนของอีสานในฐานะพื้นที่แห่งความแห้งแล้งกันดารประกอบสร้างขึ้นอย่างสอดรับกับอุดมการณ์สังคมนิยมเพื่อวิพากษ์ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดในช่วงทศวรรษ 2530 กวีประกอบสร้างภาพตัวแทนของอีสานในฐานะคนพลัดถิ่นในสังคมเมืองซึ่งสะท้อนให้เห็นช่วงเวลาที่สังคมไทยพัฒนาเป็นสังคมอุตสาหกรรม ต่อมาในทศวรรษ 2550 กวีถ่ายทอด ภาพตัวแทนของอีสานในฐานะท้องถิ่นที่ได้รับผลจากกระแสโลกาภิวัตน์ด้านวัฒนธรรมและระบบนิเวศ และภาพตัวแทนของอีสานในฐานะวิถีชนบทอันเรียบง่ายและอุดมสมบูรณ์ ภาพตัวแทนดังกล่าวทำหน้าที่รื้อถอนภาพอีสานในฐานะดินแดนแห้งแล้งที่ผลิตซ้ำมานาน ด้วยเหตุนี้ กวีนิพนธ์ได้กลายมาเป็นพื้นที่แห่งการต่อสู้ทางวัฒนธรรมและแสดงให้เห็นถึงการประกอบสร้างอัตลักษณ์อีสานที่สัมพันธ์กับอำนาจรัฐไทยและบริบทโลกาภิวัตน์
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ