ปรากฏการณ์โจรผู้ร้ายในเมืองพิษณุโลก: ภาพสะท้อนกระบวนการปฏิรูประบบราชการสยามในพื้นที่ภาคกลางตอนบนช่วงทศวรรษ 2430-2470
รหัสดีโอไอ
Creator ศุภกิตติ์ หอไชย
Title ปรากฏการณ์โจรผู้ร้ายในเมืองพิษณุโลก: ภาพสะท้อนกระบวนการปฏิรูประบบราชการสยามในพื้นที่ภาคกลางตอนบนช่วงทศวรรษ 2430-2470
Contributor ทวีศักดิ์ เผือกสม, ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว
Publisher คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
Publication Year 2567
Journal Title ดำรงวิชาการ
Journal Vol. 23
Journal No. 2
Page no. 219 - 250
Keyword การปฏิรูประบบราชการสยาม, จุลประวัติศาสตร์, โจรผู้ร้าย
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/damrong
ISSN 3027-6012
Abstract การหวนกลับมาให้ความสนใจต่อประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนในยุคแห่งการปฏิรูปของสยามในห้วงปี พ.ศ.2563-2565 นั้น สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาประวัติศาสตร์สามัญชนยังคงเป็นที่ต้องการในสังคมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์ในยุคแห่งการปฏิรูประบบราชการของสยาม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในระยะหลังงานศึกษาประวัติศาสตร์จะคลี่คลายความสนใจไปยังคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคม โดยเฉพาะบรรดานักเลง โจรผู้ร้าย และผู้นำท้องถิ่น แต่คนเหล่านี้ก็ยังคงถูกมองในฐานะของอุปสรรค์ที่ฉุดรั้งการปฏิรูปของรัฐสยามและยังคงอยู่ในมิติของคำอธิบายจากบนลงล่าง กล่าวให้ถึงที่สุดแล้วงานเหล่านี้ก็ยังคงขาดมิติของความรู้สึก สำนึกและความคิดที่สามัญชนมีต่อการปฏิรูปของสยาม หรือกระทั่งยังไม่เห็นมิติของโลกทัศน์ที่สามัญชนมีต่อโลกที่พวกเขากำลังดำรงอยู่ โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจผลกระทบของการปฏิรูปสยามที่มีต่อชีวิตคนธรรมดาสามัญผ่านปรากฏการณ์ของโจรผู้ร้ายในเมืองพิษณุโลก และตรวจสอบถึงเงื่อนไขของพื้นที่ๆ เอื้อให้เกิดโจรผู้ร้ายตลอดจนแสวงหามุมมองอื่นๆ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ขยับขยายออกไปจากคำอธิบายที่เคยดำรงอยู่ โดยใช้วิธีการแบบจุลประวัติศาสตร์ เพื่อเปิดเผยให้เห็นโลกของสามัญชนที่มีชีวิตและลมหายใจอยู่จริงๆ ในห้วงเวลาของการปฏิรูประบบราชการของสยาม กล่าวได้ว่า คำอธิบายต่อปรากฏการณ์โจรผู้ร้ายในช่วงเวลาดังกล่าวที่มองการเกิดขึ้นของโจรผู้ร้ายว่าเป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและดำเนินการภายใต้ระบบอุปถัมภ์นั้นจึงไม่น่าจะเพียงพอ โดยผลของการศึกษาพบว่าปรากฏการณ์โจรผู้ร้าย อาทิ กรณีของนายแจ้งนั้นเป็นผลโดยตรงของการปฏิรูประบบราชการที่อำนาจท้องถิ่นแบบดั้งเดิมนั้นได้ถูกแทรกแซงโดยตรงจากรัฐบาลส่วนกลาง ด้วยเหตุนี้ คดีอาญานี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องอาชญากรรมที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรืออาชญากรรมที่เกิดจากผู้มีบารมี แต่เห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องของความปริร้าวในเชิงโครงสร้างระหว่างระบอบเก่ากับการบริหารราชการแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่าน
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ