![]() |
กรณีรถไฟชนรถบัสพนักงานบริษัท บริเวณทางลักผ่าน จังหวัดฉะเชิงเทรา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศศิธร พงษ์ประพันธ์ |
Title | กรณีรถไฟชนรถบัสพนักงานบริษัท บริเวณทางลักผ่าน จังหวัดฉะเชิงเทรา |
Contributor | เกศริน ขอหน่วงกลาง, จตุพร ทิพยฑิฆัมพร, ปรีญา สุริพล, รัตติยา ยมมา, สุมาลี ยังอยู่สุข, วรรณนิภา สุขสถิต |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 51 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 162-170 |
Keyword | การสอบสวนอุบัติเหตุหมู่, รถไฟชนรถบัสพนักงานบริษัท, ทางลักผ่าน |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค (Joint Investigation Team: JIT) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี และทีมสหสาขาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ลงสอบสวนอุบัติเหตุรถไฟชนกับรถบัสพนักงานบริษัท บริเวณทางลักผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในอนาคต โดยใช้ Haddon's Matrix ผลการสอบสวนพบว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2563 มีผู้เสียชีวิต 18 ราย ปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ ด้านบุคคลพบว่าผู้ขับขี่รถบัสไม่คุ้นเคยเส้นทาง ผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มีการสังสรรค์ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในรถ ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต ด้านรถบัส มีอายุการใช้งาน 12 ปี มีการดัดแปลงสภาพ อีกทั้งมีการบรรทุกผู้โดยสารเกินกว่าที่กำหนด ส่วนรถไฟมีการบรรทุกสินค้า ทำให้ไม่สามารถหยุดกะทันหันได้ ส่งผลให้เกิดการชนแบบรุนแรง ด้านสภาพแวดล้อมที่เกิดเหตุเป็นจุดลักผ่าน ไม่มีไม้กั้น เป็นพื้นที่ต่างระดับ มีต้นไม้ปกคลุมทำให้บดบังทัศนวิสัยในการมองเห็น ดังนั้น ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรสำรวจและหาแนวทางการแก้ปัญหาทางลักผ่าน จุดตัดทางรถไฟที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย และให้ผู้ประกอบการหมั่นตรวจสอบสภาพรถบัสอย่างสม่ำเสมอ ให้ขนส่งบังคับใช้กฎหมายการตรวจสภาพรถอย่างเข้มงวด ตลอดจนสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สัญจรเส้นทางใช้รถ ใช้ถนนอย่างปลอดภัย โดยผลจากความร่วมมือจากสหสาขาในพื้นที่ในครั้งนี้ ส่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดเครื่องกั้นทางรถไฟ และได้เปิดใช้งานอย่างไม่เป็นทางการไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 |