![]() |
การคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี และซี โดยความร่วมมือ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2565-2566 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ |
Title | การคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี และซี โดยความร่วมมือ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2565-2566 |
Contributor | สุชาดา เจียมศิริ, วันทนีย์ ดิษฐปาน, เตือนใจ นุชเทียน, กาญจนา ศรีสวัสดิ์, รวิสรา วรรณทอง, จุฑารัตน์ ชูเอียด, ณัฐณิชา วณวนานนท์, ฉัตรสุมน บุญมา |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 50 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 587-599 |
Keyword | โรคไวรัสตับอักเสบบี และซี, การคัดกรอง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | ในประเทศไทย คาดประมาณว่า พ.ศ. 2557 มีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง 2.2 ล้านคน ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังประมาณ 3-4 แสนคน มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงบริการ เนื่องจากไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (กอพ.) จึงได้เริ่มโครงการตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบบี และซี เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการสนับสนุนประชากรเป้าหมายเข้ารับบริการ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการในช่วงระหว่าง 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2566 กอพ. สนับสนุนชุดตรวจคัดกรองแบบเร็ว HBsAg และ Anti-HCV ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชากรที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อใน 76 จังหวัด เจ้าหน้าที่ในพื้นที่เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบรายงานผล และบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมรายงานผล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการดำเนินงาน พบว่า ในปีงบประมาณ 2565 และ 2566 มีผู้ถูกคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี จำนวน 43,402 ราย และ 138,594 ราย ไวรัสตับอักเสบซี จำนวน 46,572 ราย และ 146,823 ราย อายุเฉลี่ย 49 ปี และ 52 ปี พบผลบวกต่อการตรวจหาโปรตีนของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) ร้อยละ 2.42 และ 2.43 ผลบวกต่อการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Anti-HCV) ร้อยละ 0.76 และ 1.34 ในจำนวนนี้ มีร้อยละ 14.97 และ 36.15 ได้ตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในเลือด พบผลบวกร้อยละ 69.81 และ 52.32 ด้านการทำงานร่วมกับ อปท. พบว่า อปท. ส่วนใหญ่สนับสนุนบุคลากร และสถานที่จัดบริการคัดกรอง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์การบริการ มีบางแห่งสนับสนุนงบประมาณในการคัดกรอง ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ควรส่งเสริมให้ประชาชน และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตระหนักถึงอันตรายของโรคไวรัสตับอักเสบบี และซี เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ มีการระดมทรัพยากร และมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาระบบส่งต่อผู้ติดเชื้อเข้าสู่การรักษา |