![]() |
การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ทางเพศ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของเยาวชนในมหาวิทยาลัย จังหวัดชลบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เสาวนีย์ ทองนพคุณ |
Title | การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ทางเพศ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของเยาวชนในมหาวิทยาลัย จังหวัดชลบุรี |
Contributor | ฐิติกานต์ บัวรอด |
Publisher | กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 45 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 402-412 |
Keyword | การรู้เท่าทันสื่อทางเพศ, พฤติกรรม, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, วัยรุ่น, มหาวิทยาลัย |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 2651-1649 |
Abstract | ปัจจุบันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อทางเพศ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อทางเพศ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของเยาวชนในมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เยาวชนชายหญิงในมหาวิทยาลัยที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 485 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในรูปแบบความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยโดยสถิติวิเคราะห์ (chi-square test) ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนในมหาวิทยาลัยแสดงออกทางเพศแบบรักต่างเพศ ร้อยละ 86.4 เคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 62.1 และใช้สื่อทางเพศมากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ถึงร้อยละ 17.9 โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งเข้าถึงเว็บไซต์อนาจาร เยาวชนเพียงร้อยละ 22.7 มีระดับการรู้เท่าทันสื่อทางเพศระดับดี เยาวชนเกือบครึ่งหนึ่งที่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่เหมาะสม จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบว่า เพศ (p<0.001) การแสดงออกทางเพศ (p=0.031) บุคคลที่พักอาศัยด้วย (p=0.014) การมีความสัมพันธ์/การมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแบบกิ๊ก (p<0.001) จำนวนการใช้สื่อทางเพศ (p=0.018) การรู้เท่าทันสื่อทางเพศ (p<0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เยาวชนในมหาวิทยาลัยที่มีการรู้เท่าทันสื่อระดับน้อย จะมีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับไม่เหมาะสม ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมยกระดับการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชน เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นในกลุ่มเยาวชนที่พักอาศัยตามลำพัง และพักกับแฟนหรือคู่รัก |