การประเมินพื้นที่เสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้าบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ จังหวัดตากปี พ.ศ. 2558
รหัสดีโอไอ
Creator ชำนาญ ปินนา
Title การประเมินพื้นที่เสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้าบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ จังหวัดตากปี พ.ศ. 2558
Contributor สุชาติ มูลสวัสดิ์, สมศรี คำภีระ, ศรัณยา บุรารักษ์, คณิศร มณเฑียรทอง
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2558
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 41
Journal No. 4
Page no. 320-328
Keyword ประเมินพื้นที่เสี่ยง, เครือข่ายเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า, ชายแดนไทย-เมียนมาร์, สุขภาพหนึ่งเดียว
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract การเสริมสร้างความเข้มแข็งงานด้านการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนติดประเทศเพื่อนบ้าน นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องของเครือข่าย โดยจังหวัดตากได้นำหลักการทำงานภายใต้กลยุทธ์การดำเนินงานของเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว มาใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาศักยภาพการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าบริเวณชายแดน โดยยึดตามข้อตกลงระหว่างประเทศคือ การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2563 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้าบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ จังหวัดตาก วิธีการศึกษา ได้รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานของเครือข่ายเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ได้แก่ รายงานการสำรวจข้อมูลประชากรสัตว์เลี้ยง รายงานการฉีดวัคซีนแก่สัตว์เลี้ยง ข้อมูลจากการนิเทศงานและข้อสรุปจากที่ประชุม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในคนของจังหวัดตากยังมีผู้ป่วยตายเกือบทุกปี ส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติ โดยติดเชื้อมาจากฝั่งประเทศเมียนมาร์ แสดงให้เห็นว่าบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์ ผลงานความครอบคลุมการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สัตว์เลี้ยงในภาพรวมทั้งจังหวัดร้อยละ 69.6 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80.0 ผลประเมินตามเกณฑ์การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าเป็นรายตำบลพบว่า ทุกตำบลไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าต่อเนื่องกันมากกว่า 2 ปี รวมทั้งตัวอย่างหัวสัตว์ที่ส่งตรวจไม่พบเชื้อมากกว่า 2 ปีติดต่อกัน ผลการดำเนินงานขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงและการฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยงในปี พ.ศ. 2558 พบว่า มีปัญหาอุปสรรคจากการบริหารจัดการ ซึ่งไม่สามารถจัดหาวัคซีนเพื่อใช้ในการดำเนินงานได้ เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคพิษสุนัขบ้าและเร่งรัดการสร้างพื้นที่ปลอดโรค หน่วยงานเครือข่ายควรรณรงค์ให้ประชาชนมีความร่วมมือ โดยนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่องทุกปี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรออกเทศบัญญัติหรือข้อบังคับ เพื่อควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ โดยเฉพาะสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ