![]() |
ความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยในปี 2556 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชื่นพันธ์ วิริยะวิภาต |
Title | ความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยในปี 2556 |
Contributor | เกษร แถวโนนงิ้ว, วันทนา กลางบุรัมย์ |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 77-86 |
Keyword | ความรู้, การรับรู้, พฤติกรรมการบริโภค, โรคพยาธิใบไม้ตับ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | โรคพยาธิใบไม้ตับ เป็นปัญหาสาธารณสุขของประชาชนในหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย สาเหตุเกิดจากการบริโภคปลาน้ำจืดดิบ การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross- sectional study) โดยศึกษาความรู้ การรับรู้ พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ในประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 3,916 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบ thirty cluster survey จาก 7 จังหวัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 45.5 เพศหญิง ร้อยละ 54.5 อายุเฉลี่ย 43 ปี มีความรู้เรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับค่อนข้างต่ำ รู้ว่าการกินปลาส้มดิบเป็นสาเหตุของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 91.0 แต่ไม่ทราบวิธีการใช้ฆ่าพยาธิใบไม้ตับที่ถูกต้อง และผลข้างเคียงของการรับประทานยารักษาพยาธิโบไม้ตับบ่อยๆ คิดเป็นร้อยละ 41.2 และ 55.2 ตามลำดับ ประชาชนรับรู้ว่าการกินปลาดิบเป็นวิถีชีวิตที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานานและติดใจเพราะความอร่อย ปัจจุบันประชาชนยังคงกินปลาดิบ ร้อยละ 57.1 และอาหารหมักดอง ร้อยละ 92.6 ความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค พบว่า ไม่เคยคิดที่จะเลิกหรือคิดแต่ไม่ทำ ร้อยละ 52.9 ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสี่ยง ได้แก่ เพศ การรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ระดับการศึกษา มีประวัติพ่อแม่ ญาติพี่น้องเป็นโรคมะเร็งตับหรือมะเร็งท่อน้ำดี และอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value 0.001,0.001 0.003, 0.012 และ 0.034 ตามลำดับ) โดยทั้ง 5 ปัจจัย สามารถอธิบายความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ ร้อยละ 35.9 ดังนั้น โรคพยาธิใบไม้ตับยังคงเป็นปัญหาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอยู่ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการป้องกันควบคุมโรคนี้ยังมีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้เหมาะสม ตลอดจนให้ความรู้กับประชาชนให้มีความรู้ที่ถูกต้อง |