การพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
รหัสดีโอไอ
Creator สุขสม เอื้ออริยกุล
Title การพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2558
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 41
Journal No. 1
Page no. 1-13
Keyword การมีส่วนร่วมของบุคลากร, การป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 และโรคหลอดเลือดสมอง มีผู้ป่วยหนักที่ใส่เครื่องช่วยหายใจเฉลี่ย 8 คน/วัน อัตราการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเดือนมีนาคม 2556 เท่ากับ 16.10 ครั้ง/1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของบุคลากรในการมีส่วนร่วมป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และศึกษาผลของพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจโดยเปรียบเทียบความรู้การปฏิบัติ แรงจูงใจ และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยเหลือคนไข้ก่อนและหลังการพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ การวิจัยนี้เป็นวิจัยเซิงปฏิบัติการ วิเคราะห์สถานการณ์ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พัฒนาแนวปฏิบัตินำสู่การปฏิบัติโดยทีมมีส่วนร่วม ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 20 คน และผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 13 คน พยาบาลประจำหน่วยป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล จำนวน 4 คน ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเดือนเมษายน-กันยายน 2556 เดือนตุลาคม 2556 - มีนาคม 2557 และเดือนเมษายน- ตุลาคม 2557 จำนวน 264, 246 และ 265 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสอบถามแรงจูงใจและความพึงพอใจ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ และใช้ f-test, t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพ นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาพบว่า พยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยเหลือคนไข้มีความรู้ (คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70.00) ร้อยละ 69.00 และ 67.60 จากการสังเกตตามแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยเหลือคนไข้ ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 71.12 และ 64.37 จากการตอบแบบสอบถามพบว่า พยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยเหลือคนไข้มีแรงจูงใจ ร้อยละ 68.89 และ 66.38 พึงพอใจที่จะปฏิบัติ ร้อยละ 69.72 และ 66.44 จากสภาพปัญหาบุคลากรก่อนการพัฒนาพบว่า มีความรู้ความเชี่ยวชาญแตกต่างกันมาก ขาดแรงจูงใจ ขาดการมีส่วนร่วมและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ผู้วิจัยได้พัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยการพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างแรงจูงใจ กระบวนการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม พัฒนาทางเลือก พัฒนาแนวปฏิบัติ และจัดหาอุปกรณ์ให้เพียงพอ ผลการพัฒนาพบว่า พยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยเหลือคนไข้มีความรู้ มีการปฏิบัติ มีแรงจูงใจ และความพึงพอใจหลังการพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ รอบที่ 1, 2 และ 3 มากกว่าก่อนการพัฒนา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่า อัตราการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจทุก 6 เดือน ระหว่างเมษายน 2556 - กันยายน 2557 ลดลงจาก 5.15 ลดลงเหลือ 2.52, 2.69 และ 0.95 ครั้ง/1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ ตามลำดับ
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ