![]() |
ปัจจัยที่มีผลต่อการแจ้งข่าวการเฝ้าระวังเหตุการณ์จากระดับตำบล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วันชัย อาจเขียน |
Title | ปัจจัยที่มีผลต่อการแจ้งข่าวการเฝ้าระวังเหตุการณ์จากระดับตำบล |
Contributor | โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์ |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 120-129 |
Keyword | การเฝ้าระวังเหตุการณ์, การแจ้งข่าว, คุณภาพข้อมูล |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | ปี 2556 มีการแจ้งข่าวเหตุการณ์ผิดปกติจากระดับตำบล ผ่านโปรแกรมแจ้งข่าวออนไลน์ในระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ ไม่ถึงครึ่งของตำบลทั้งหมด จึงศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแจ้งข่าวและคุณภาพการตรวจจับเหตุการณ์ในมุมมองของผู้รับผิดชอบงาน SRRT ระดับอำเภอ โดยการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2557 กลุ่มตัวอย่างเป็นอำเภอที่สมัครใจ 301 อำเภอ และใช้ค่ามัธยฐานของจำนวนข่าวแต่ละจังหวัด แบ่งเป็นกลุ่มแจ้งข่าวเหตุการณ์มาก 146 อำเภอ และกลุ่มแจ้งข่าวน้อย 155 อำเภอ ทดสอบทางสถิติด้วยโปรแกรม Epi Info 3.4.3 ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทั่วไปของทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกัน ยกเว้นจำนวนตำบล (p<0.001) ปัจจัยที่มีผลต่อการแจ้งข่าว ได้แก่ การได้ประเมินเกณฑ์อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็ง ผลการผ่านมาตรฐาน SRRT ความครอบคลุมของตำบลที่ใช้โปรแกรมออนไลน์ และการมีหนังสือคู่มือ จำนวนผู้รับผิดชอบของอำเภอ ตัวชี้วัดและโครงการที่เกี่ยวข้อง จำนวนช่องทางสื่อสารแจ้งข่าวในพื้นที่ การทราบข่าวและได้ใช้ข้อมูลเหตุการณ์จากระบบเฝ้าระวัง สำรวจข้อมูลเหตุการณ์ในปี 2556 ได้จำนวน 320 เหตุการณ์ กลุ่มที่แจ้งข่าวมากให้ข้อมูลสำรวจมากกว่า และมีสัดส่วนของแหล่งข่าวนอกแวดวงสาธารณสุขมากกว่ากลุ่มที่แจ้งน้อย ข้อมูลเหตุการณ์ที่สำรวจตรงกับข้อมูลในโปรแกรมออนไลน์ ร้อยละ 25.31 และในฐานข้อมูลการระบาดระดับประเทศ ร้อยละ 10.00 การปรับปรุงพัฒนาระบบ ควรเน้นที่มาตรฐานงานและตัวชี้วัดที่เหมาะสม พัฒนากลไกระดับอำเภอให้เข้มแข็ง ปรับปรุงพัฒนาช่องทางสื่อสารในการแจ้งข่าว การพัฒนาแหล่งข่าวในพื้นที่ และศึกษา คุณภาพของข้อมูลข่าวเหตุการณ์ที่แจ้งจากระดับตำบล |