การพัฒนารูปแบบระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อนและการเพิ่มคุณภาพงานควบคุมโรคเรื้อน ภายใต้สภาวการณ์ความชุกต่ำ จังหวัดสุรินทร์
รหัสดีโอไอ
Creator สุชัญญา มานิตย์ศิริกุล
Title การพัฒนารูปแบบระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อนและการเพิ่มคุณภาพงานควบคุมโรคเรื้อน ภายใต้สภาวการณ์ความชุกต่ำ จังหวัดสุรินทร์
Contributor ญาดา โตอุตชนม์
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2558
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 41
Journal No. 3
Page no. 170-178
Keyword การพัฒนารูปแบบ, โรคเรื้อน
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนางานรูปแบบระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อนและการเพิ่มคุณภาพงานควบคุมโรคเรื้อน ภายใต้สภาวการณ์ความชุกต่ำที่จังหวัดสุรินทร์ ศึกษาจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์สถานการณ์ และเอกสารวิชาการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญโรคเรื้อน ข้อมูลที่ได้จากวิธีการสังเกต การจัดเวทีประชุม ถูกนำมาใช้กำหนดรูปแบบในการพัฒนาการศึกษา แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนได้แก่ (1) การศึกษาและประเมินสถานการณ์การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเรื้อน (2) กำหนดรูปแบบการส่งต่อตามระบบใหม่ (3) ติดตามกำกับการดำเนินงานตามรูปแบบที่กำหนด (4) ประเมินผล ในปีงบประมาณ 2557 ได้ทำการประเมินผลการดำเนินงานการควบคุมโรคเรื้อนจังหวัดสุรินทร์หลังการพัฒนาระบบส่งต่อใหม่พบว่า ขีดความสามารถของการให้บริการงานควบคุมโรคเรื้อนของจังหวัดสุรินทร์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น มีทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและตรวจผู้สัมผัสร่วมบ้าน รวมถึงการให้ความรู้แก่ อสม. ในการตรวจคัดกรองผู้ที่มีอาการโรคผิวหนังเรื้อรังเพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ โดยผลของการค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในปี 2554-2557 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (10 ราย, 21 ราย, 8 ราย, 16 ราย ตามลำดับ) จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่พิการเกรด 2 มีแนวโน้มลดลงจาก 7 ราย เหลือเพียง 4 ราย อัตราการรับยาครบมีแนวโน้มดีขึ้น รวมทั้งมีการตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านได้มากขึ้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้จังหวัดอื่นๆ ได้นำรูปแบบระบบส่งต่อที่พัฒนาขึ้น ไปใช้ในการจัดระบบบริการงานควบคุมโรคเรื้อน โดยให้โรงพยาบาลเชี่ยวชาญโรคเรื้อนอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ หน่วยงานบริการสุขภาพในพื้นที่ทำหน้าที่ในการตรวจผู้สัมผัสโรคเรื้อน ตรวจคัดกรองผู้ที่มีอาการสงสัยโรคเรื้อน และส่งต่อมารับการตรวจยืนยันการวินิจฉัยและรักษาที่สถานบริการเชี่ยวชาญโรคเรื้อน และทำการวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อน เพื่อประเมินคุณภาพและประสิทธิผลของบริการภายใต้สภาวะความชุกโรคต่ำ ซึ่งจะทำให้รูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นรูปแบบที่มีคุณภาพและมาตรฐานดียิ่งขึ้นต่อไป
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ