![]() |
รูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องเอดส์และเพศศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ทนงศรี ภูริศรี |
Title | รูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องเอดส์และเพศศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา |
Contributor | อนันต์ มาลารัตน์, ไพบูลย์ อ่อนมั่ง |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 241-252 |
Keyword | การจัดการเรียนรู้, เอดส์และเพศศึกษา, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องเอดส์และเพศศึกษา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการเรียนรู้เรื่องเอดส์และเพศศึกษา 7 คน ผู้บริหารโรงเรียน 4 คน ครู 4 คน และนักเรียน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่มกับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล (2) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องเอดส์และเพศศึกษา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ 7 คน นักเรียนจำนวน 2 ห้อง 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคเอดส์และเพศศึกษา แบบสอบถามเจตคติต่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและเพศศึกษา และแบบสอบถามทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างภายในกลุ่มด้วยสถิติ paired t-test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องเอดส์และเพศศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษามี 10 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) นโยบายของโรงเรียน (2) งบประมาณ (3) การสร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง (4) หลักสูตรสถานศึกษา (5) ครูผู้สอน (6) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (7) สื่อการเรียนการสอน (8) แหล่งการเรียนรู้ (9) การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ และ (10) การประเมินผลการเรียนรู้ ส่วนหลักการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ได้จากการวิจัยเป็นแบบ GE-TICA คือ การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม (group process) การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (experiential learning) การจัดการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการคิด (thinking) สามารถสืบสอบแสวงหาความรู้ได้ (investigation) สร้างความรู้ด้วยตนเองได้ (construction) และสามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (application) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องเอดส์และเพศศึกษา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้นำกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักการ GE-TICA มาใช้ทดลองกับนักเรียน 1 ห้องเรียน โดยมีกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและเพศศึกษา และทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้น และแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเอดส์และเพศศึกษา |