![]() |
การศึกษาประสิทธิผลของมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปากในศูนย์เด็กเล็ก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สมนึก เลิศสุโภชวณิชย์ |
Title | การศึกษาประสิทธิผลของมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปากในศูนย์เด็กเล็ก |
Contributor | สมคิด คงอยู่, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, ปรารถนา สุขเกษม, รุ่งเรือง กิจผาติ |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2557 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 40 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 310-320 |
Keyword | มาตรการในการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์เด็กเล็ก, ศูนย์เด็กเล็ก, อัตราป่วยของโรคมือ เท้า ปาก |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะในเด็กเล็ก จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของสำนักระบาดวิทยา พบว่า มากกว่า 2 ใน 3 ของเด็กที่ป่วยอยู่ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์เด็กเล็ก เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างศูนย์เด็กเล็กที่ได้ดำเนินการตามข้อกำหนดของกรมควบคุมโรค และศูนย์เด็กเล็กที่ไม่ได้ดำเนินการตามข้อกำหนดของกรมควบคุมโรค ดำเนินการสุ่มตัวอย่างศูนย์เด็กเล็กทั้งหมด 260 แห่ง จาก 108 ตำบล 16 อำเภอใน 10 จังหวัด วิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (IQR) และวิเคราะห์ถดถอยเอกนามและวิเคราะห์ถดถอยพหุนาม โดยใช้ข้อมูลจากรายงานโรค 506 ของอุบัติการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่เปลี่ยนแปลงระหว่างปี พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2556 ในตำบลที่ศูนย์เด็กเล็กนั้นตั้งอยู่ ผลการศึกษาพบว่า ศูนย์เด็กเล็กที่ดำเนินการตามมาตรการในการป้องกันควบคุมโรค สามารถลดอัตราป่วยโรคมือ เท้า ปาก ในพื้นที่ได้ โดยเฉพาะศูนย์เด็กเล็กที่มีนโยบายการบริหารจัดการด้านการป้องกันควบคุมโรค มีการแยกเด็กป่วยอย่างถูกต้อง จัดให้มีแก้วน้ำดื่มเฉพาะตัวเด็ก มีจำนวนโถส้วมถ่ายอุจจาระที่เพียงพอ มีห้องน้ำ ห้องส้วม แยกจากกัน และจัดให้มีอุปกรณ์ในการป้องกันควบคุมโรคครบถ้วน จะสามารถลดอัตราป่วยโรคมือ เท้า ปาก ในพื้นที่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานในศูนย์เด็กเล็ก และขยายผลการดำเนินงานในโรงเรียนอนุบาลต่อไป |