การพัฒนาตัวชี้วัดระบบบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับอำเภอ
รหัสดีโอไอ
Creator ไพรัตน์ อ้นอินทร์
Title การพัฒนาตัวชี้วัดระบบบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับอำเภอ
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2557
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 40
Journal No. 3
Page no. 281-292
Keyword การพัฒนาตัวชี้วัด, ระบบบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์, การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ เพื่อ (1) พัฒนาตัวชี้วัดระบบบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับอำเภอ และ (2) ประเมินความเป็นไปได้ของตัวชี้วัดก่อนนำไปใช้จริง โดยกำหนดขอบเขตการดำเนินงาน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาตัวชี้วัด ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย (1.1) ยกร่างตัวชี้วัด โดยศึกษาเอกสารผลงานวิจัยเรื่อง สถานการณ์และข้อเสนอแนวทางการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการป้องกันควบคุมโรคระดับอำเภอ มีขอบเขตด้านเนื้อหาครอบคลุมองค์ประกอบด้านกระบวนการ 6 ด้าน แล้วยกร่างเป็นตัวชี้วัด และ (1.2) ตรวจสอบความเหมาะสมด้วยวิธีสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน และขั้นตอนที่ 2 ประเมินความเป็นไปได้ในการนำตัวชี้วัดไปใช้ในกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้รับผิดชอบงานระดับจังหวัดและระดับอำเภอ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 182 ราย เก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคัดเลือกตัวชี้วัดตามเกณฑ์ความเป็นไปได้ต่อการนำไปใช้เป็นรายข้อและรายด้านที่กำหนด คือ มีคะแนนเฉลี่ย 3.51 ขึ้นไป และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยกว่า 1 ผลวิจัยพบว่า การพัฒนาตัวชี้วัดระบบบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับอำเภอ จากการยกร่าง 6 ด้าน ทั้งหมด 106 ตัวชี้วัด ผลการประเมินความเหมาะสม คงเหลือ 96 ตัวชี้วัด และผลการประเมินความเป็นไปได้ คงเหลือตัวชี้วัดที่เป็นไปตามเกณฑ์ 63 ตัวชี้วัด โดยเรียงลำดับด้านที่มีความเป็นไปได้จากคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือ (1) การวางแผนยุทธศาสตร์ (2) การนำองค์กร (3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (4) การจัดกระบวนการ (5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล และ (6) การวัด วิเคราะห์ข้อมูล และการจัดการความรู้ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ คือ ควรนำตัวชี้วัดที่ได้มากำหนดเกณฑ์ชี้วัดด้านผลลัพธ์และวิธีการให้คะแนนที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ทดลองประเมินอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนในเชิงคุณภาพ
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ