ความปลอดภัยและประสิทธิผลของ atorvastatin และ rosuvastatinเมื่อใช้ยาอย่างเดียว และเมื่อใช้ร่วมกับ fibrates ในผู้ป่วยที่ใช้ยาสูตรที่มี protease inhibitors
รหัสดีโอไอ
Creator สมคิด อังคศรีทองกุล
Title ความปลอดภัยและประสิทธิผลของ atorvastatin และ rosuvastatinเมื่อใช้ยาอย่างเดียว และเมื่อใช้ร่วมกับ fibrates ในผู้ป่วยที่ใช้ยาสูตรที่มี protease inhibitors
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2557
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 40
Journal No. 3
Page no. 268-280
Keyword ยาต้านไวรัสชนิดยับยั้งเอ็นไซม์โปรติเอส, สตาติน, อทอร์วาสตาติน, โรซูวาสตาติน, ไฟเบรต, เจมไฟโบรซิล, ฟีโนไฟเบรต, อาการไม่พึงประสงค์, ผลการลดแอลดีแอลโคเสสเตอรอล, การบรรลุเป้าหมายของระดับไขมันแอลดีแอลโคเลสเตอรอล
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์และเปรียบเทียบประสิทธิผลของยา atorvastatin และ rosuvastatin เมื่อใช้อย่างเดียว และเมื่อใช้ร่วมกับ fibrates (gemfibrozil และ fenofibrate) ในการลดระดับ low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C) และการบรรลุเป้าหมายในการรักษาตามแนวทางของ National Cholesterol Education Program (NCEP) Adult Treament Panell III (ATP III) ในผู้ป่วยที่กำลังใช้ยา boosted protease inhibitors (boosted Pls) หรือ Pls ที่มารับการรักษาที่สถาบันบำราศนราดูร โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับการรักษา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2553 ถึง 30 มิถุนายน 2555 ผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในวันที่เริ่มใช้ statins (atorvastatin หรือ rosuvastatin) มีผลของ LDL-C อย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ภายใน 3 เดือนก่อนเริ่มใช้ยา statins ร่วมกับยา boosted Pls หรือ Pls และหลังจากใช้ยาร่วมกันอย่างน้อย 3 เดือน ช่วงระยะเวลา 3 เดือนก่อนเริ่มยา boosted Pls หรือ Pls ไม่ได้ใช้ยา statins และเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการใช้ยา boosted Pls ร่วมกับ statins อย่างน้อย 1 ปี ผลการศึกษารายงานเป็นอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์และประสิทธิผลของ atorvastatin และ rosuvastatin รายงานเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละของ LDL-C ที่ลดลง และร้อยละของการบรรลุเป้าหมายตาม NCEP ATP III ผู้ป่วยที่อยู่ในเกณฑ์มี 116 ราย อายุเฉลี่ย 45 ปี เป็นชาย 82 ราย และหญิง 34 ราย กลุ่มที่ใช้ atorvastatin 53 ราย ใช้ gemfibrozil และ fenofibrate อย่างละ 14 ราย กลุ่มที่ใช้ rosuvastatin 63 ราย ใช้ gemfibrozil 14 ราย และ fenofibrate 15 ราย ผู้ป่วย 116 ราย เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (AEs) 4 ราย (ร้อยละ 3.5) ได้แก่ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 2 ราย หยุดยาทั้ง 2 ราย อีก 2 รายมีค่า creatine phosphokinase (CPK) >2 เท่า ของ upper limit of normal value (ULN) แต่ไม่ได้หยุดยา ในจำนวนนี้ 3 ราย ใช้ lopinavir/ritronavir และ 1 ราย ใช้ lopinavir/atazanavir/ritronavir ทุกรายใช้ rosuvastatin 10 mg. โดย 3 รายใช้ร่วมกับ gemfibrozil และ 1 รายใช้ร่วมกับ fenofibrate ประสิทธิผลของการใช้ยา 3 เดือน ถึง 1 ปี ผู้ป่วยทั้งหมด 116 ราย พบว่า rosuvastatin ลด LDL-C ได้มากกว่า atorvastatin (ร้อยละ 33.0 และ ร้อยละ 24.1, p=0.015) และได้ผลบรรลุเป้าหมายมากกว่า atorvastatin (OR = 2.23, p = 0.036) การใช้ rosuvastain หรือ atorvastatin ร่วมกับ gemfibrozil หรือ fenofibrate ไม่ได้ทำให้ผลของการลดระดับ LDL-C ของ rosuvastatin หรือ atoravastatin ต่างจากการใช้ rosuvastain หรือ atorvastatin อย่างเดียว (p = 0.619 และ 0.395 ตามลำดับ) เช่นเดียวกับการบรรลุ LDL-C goal (p = 0.314 และ 0.185 ตามลำดับ) กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ gemfibrozil หรือ fenofibrate ยา rosuvastatin ลดระดับ LDL-C ได้มากกว่า atorvastatin (ร้อยละ 34.9 และร้อยละ 22.9, P = 0.025) และบรรลุเป้าหมายมากกว่า (OR = 4.27, P = 0.008) กลุ่มที่ใช้ gemfibrozil หรือ fenofibrate ด้วย พบว่า rosuvastatin และ atorvastatin ลด LDL-C ได้ไม่ต่างกัน (p = 0.778 และ 0.235 ตามลำดับ) และบรรลุเป้าหมายไม่ต่างกัน (OR = 2.75, P = 0.225 และ OR = 0.64, P = 0.550 ตามลำดับ) โดยสรุป ถ้าจำเป็นต้องใช้ atorvastatin หรือ rosuvastatin ร่วมกับ gemfibrozil หรือ fenofibrate น่าจะเลือกใช้ atorvastatin เพราะจะปลอดภัยกว่า และการใช้ gemfibrozil หรือ fenofibrate ร่วมกับ atorvastatin หรือ rosuvastatin ไม่มีผลต่อประสิทธิผลในการลด LDL-C ของทั้ง atorvastatin และ rosuvastatin
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ