![]() |
การประเมินโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคต่อการลดการป่วยมาโรงพยาบาลจากกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ โรคมือ เท้า ปาก และโรคติดต่อทางอาหารและน้ำในเด็กของศูนย์เด็กเล็ก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สุชาดา เจียมสิริ |
Title | การประเมินโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคต่อการลดการป่วยมาโรงพยาบาลจากกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ โรคมือ เท้า ปาก และโรคติดต่อทางอาหารและน้ำในเด็กของศูนย์เด็กเล็ก |
Contributor | สุพินดา ตีระรัตน์, ลออรัตน์ เวชกุล, สุดธิดา แสงยนต์, กัญญารัตน์ พึ่งประยูร, รัตนา ไชยมูล, โศภาพรรณ วิมลรัตน์ |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2557 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 40 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 233-241 |
Keyword | ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค, กลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่, มือ เท้า ปาก, โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | โครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค เป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อลดโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็กของศูนย์เด็กเล็ก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคในการลดการป่วยมาโรงพยาบาล จากกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ โรคมือ เท้า ปาก และโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ และ (2) เพื่อประเมินมาตรการควบคุมโรคทั้ง 35 ข้อ ที่โครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคกำหนด ว่าสามารถลดการป่วยจากกลุ่มโรคดังกล่าวได้ดีเพียงใด การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ observational retrospective cohort study ที่เก็บข้อมูลจากศูนย์เด็กเล็กที่เข้าร่วมโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค จำนวน 148 แห่ง เพื่อวิเคราะห์หาค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ในการ ลดการป่วยมาโรงพยาบาล ด้วยวิธี simple logistic regression ผลการวิเคราะห์พบว่า คะแนนประเมินที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 คะแนน จะสามารถลดค่าความเสี่ยงของการป่วยมาโรงพยาบาลด้วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ได้ ร้อยละ 0.90 (OR = 0.991 (95.00% CI 0.984-0.998) แต่ไม่พบความแตกต่างของการป่วยมาโรงพยาบาลด้วยโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ หรือโรคมือ เท้า ปาก สำหรับมาตรการต่างๆ ของโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี multivariate analysis พบว่า ศูนย์เด็กเล็กที่มีสัดส่วนครูและผู้ดูแลเด็กต่อจำนวนเด็กเหมาะสม มีการแยกเด็กป่วย มีการทำความสะอาดของเล่นในศูนย์ หรือมีก๊อกล้างมือเพียงพอ สามารถลดการป่วยโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ได้ ที่ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ adjusted OR เท่ากับ 0.88 (95.00% C1 0.83-0.95), 0.76 (95.00% C1 0.67-0.87), 0.86 (95.00% CI 0.75-0.99) และ 0.85 (95.00% CI 0.76-0.95) ตามลำดับ จากผลการศึกษาข้างต้นสรุปได้ว่า โครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคสามารถลดการมาโรงพยาบาลจากกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ได้อย่างมีนัยสำคัญ และมาตรการที่โครงการฯ กำหนดให้ศูนย์เด็กเล็กต้องมีสัดส่วนครูและผู้ดูแลเด็กต่อจำนวนเด็กเหมาะสม มีการแยกเด็กป่วย มีการทำความสะอาดของเล่นในศูนย์ตามที่กำหนด และมีก๊อกล้างมือเพียงพอ เป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในศูนย์เด็กเล็ก |