![]() |
ปัญหาและแนวทางในการใช้กลไกทางกฎหมายในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศของประชาคมอาเซียน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | รุ่งนภา อดิศรมงคล |
Title | ปัญหาและแนวทางในการใช้กลไกทางกฎหมายในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศของประชาคมอาเซียน |
Publisher | Mae Fah Luang University |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 107 |
Keyword | กลไกการระงับข้อพิพาท, อาเซียน, การไกล่เกลี่ย, กฎบัตรอาเซียน, วิถีอาเซียน, ปฏิสัมพันธ์ของอาเซียน |
URL Website | http://connexion.mfu.ac.th |
Website title | MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences |
ISSN | 24654213 |
Abstract | งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของกลไกทางกฎหมายที่อาเซียนใช้ในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก โดยได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในพิธีสารที่เกี่ยวข้องฉบับต่าง ๆ รวมถึงกฎบัตรอาเซียน เปรียบเทียบกับกลไกที่ใช้ในการระงับข้อพิพาทขององค์การระหว่างประเทศอื่น ได้แก่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และองค์การการค้าโลก เพราะเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างรัฐ คู่กรณีจะเลือกใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทของสององค์กรนี้แทนการเลือกใช้กลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน และได้ศึกษาตัวอย่างของศาลสหภาพยุโรป อันนำไปสู่การวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคซึ่งเป็นสาเหตุที่ประเทศสมาชิกไม่นำกลไกทางกฎหมายของอาเซียนมาปรับใช้กับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทด้านการเมือง ข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและการบังคับใช้ได้จริงของกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน ผลการศึกษาพบว่า กลไกที่กำหนดอยู่ในพิธีสารที่เกี่ยวข้องฉบับต่าง ๆ มีกระบวนการที่สลับซับซ้อน การระงับข้อพิพาทต้องเกิดจากความตกลงยินยอมจากคู่พิพาททั้งสองฝ่าย กรอบระยะเวลาที่สั้นอันเป็นปัญหากับการบังคับใช้จริง และปัญหาสำคัญ คือ การบังคับตามคำชี้ขาดหรือคำตัดสินที่ขาดความชัดเจนและเป็นรูปธรรม งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีข้อเสนอว่าควรจัดตั้งองค์กรเฉพาะทำหน้าที่ในการระงับข้อพิพาทและบังคับคำตัดสินเพื่อความถาวรและการทำงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงเห็นควรจัดตั้งศาลยุติธรรมอาเซียนเพื่อการระงับข้อพิพาท |