แนวทางแก้ไขข้อผิดพลาดการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่น ในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
รหัสดีโอไอ
Creator สุทธิดา พันธุ์โคตร
Title แนวทางแก้ไขข้อผิดพลาดการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่น ในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Publication Year 2562
Journal Title วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Journal Vol. 13
Journal No. 2
Page no. 49-68
Keyword ข้อผิดพลาดการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่น, การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น, Errors of using Japanese Particles, Japanese Teaching
URL Website http://human.bsru.ac.th/search/
Website title วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ISSN 2676 - 0073
Abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่น และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่นในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มี 2 กลุ่ม คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 27 คน ที่เรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 และอาจารย์ผู้สอนภาษาญี่ปุ่นในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 7 ท่าน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการใช้คำช่วยตามเนื้อหาที่ใช้ในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 จำนวน 5 ชุด และแบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นด้านการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่น โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า อัตราข้อผิดพลาดการใช้คำช่วยของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีข้อผิดพลาดในการใช้คำช่วยทั้งหมด จำนวน 2,094 จากอัตราการเติมคำช่วยทั้งหมด 4,266 ครั้ง อัตราข้อผิดพลาดในการใช้คำช่วยในภาพรวมที่พบมากที่สุดห้าอันดับ คือ คำช่วย ?? (made) เป็นคำช่วยที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 74.04 รองลงมา คือ คำช่วย ? (mo) คิดเป็นร้อยละ 72.84, คำช่วย ? (de) คิดเป็นร้อยละ 71.02, คำช่วย ?? (yori) คิดเป็นร้อยละ 70.37 และ คำช่วย ? (e) คิดเป็นร้อยละ 65.19 ตามลำดับ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่นในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 สรุปได้ 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การสอนเน้นการบรรยาย การยกตัวอย่างรูปประโยคที่หลากหลาย การวิเคราะห์ความแตกต่างของคำช่วย 2) เน้นการฝึกทำแบบฝึกหัด การฝึกฝนและการนำเสนองานทั้งทักษะการพูดและการเขียน 3) ใช้กิจกรรมเสริมทักษะระหว่างเรียน อาทิเช่น การทำแผนที่ความคิด (Mind map) ใช้เกมเสริมทักษะ เป็นต้น 4) ควรมีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และ 5) ในด้านสื่อการเรียนการสอน นอกจากหนังสือหรือตำราเรียนแล้ว ควรมีการบูรณาการสื่อการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย เช่น ภาพช่วยจำการจัดบอร์ด การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณา นิทาน หรือสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) เป็นต้น
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ