การท่องเที่ยวชุมชนบนฐานทุนนิเวศสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและ สังคมฐานรากอย่างสร้างสรรค์ ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
รหัสดีโอไอ
Creator ทัชชญา สังขะกูล
Title การท่องเที่ยวชุมชนบนฐานทุนนิเวศสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและ สังคมฐานรากอย่างสร้างสรรค์ ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
Contributor เรืองรัมภา อินทรักษ์, วรสุดา ขวัญสุวรรณ, พิมพ์ภัช ภู่ทอง ฤทธิ์เดช, ภานุพันธ์นัดดา ดำนุ้ยราวัฒน์
Publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Publication Year 2568
Journal Title วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI)
Journal Vol. 24
Journal No. 1
Page no. 37-51
Keyword การท่องเที่ยวชุมชน, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ทุนนิเวศ, ตำบลบ้านขาว
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku
Website title Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand
ISSN 2651-1185
Abstract ปัญหาด้านการบริหารจัดการในพื้นที่เป็นประเด็นปัญหาสำคัญสำหรับการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านขาว โดยมีปัญหาหลัก ได้แก่ การขาดการเชื่อมโยงฐานทุนนิเวศ การขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยกระดับศักยภาพอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการขาดองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวที่จำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ยั่งยืน นอกขากนี้ ยังประสบปัญหาการขาดกระบวนการรับรู้ การประชาสัมพันธ์ และสื่อเผยแพร่องค์ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านขาวให้ก้าวสู่การยกระดับด้านแหล่งท่องเที่ยว รายได้ อาชีพ และ คุณภาพชีวิตของชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน กระบวนการสำคัญที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัย คือ การสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวแบบองค์รวม การเชื่อมโยงฐานทุนนิเวศเพื่อเกิดความสมดุล การวางแนวทางพัฒนาและยกระดับศักยภาพพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ การสร้างองค์ความรู้และหลักสูตรที่เหมาะสม การสร้างเครือข่ายในชุมชน การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการรับรู้ให้แก่ชุมชน รวมถึงการออกแบบและพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ให้สอดคล้องรับกับสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากผลการออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านขาว มีจำนวนทั้งสิ้น 4 โปรแกรม ได้แก่ การท่องเที่ยวและการเรียนรู้การจัดการการเกษตรแบบผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Fresh Trip) การท่องเที่ยวชมระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตและพืชพันธุ์ และวิถีชีวิตลุ่มน้ำทะเลสาบ (Adventure Trip) การท่องเที่ยวตามเส้นทางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มโนราห์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (Magical Trip) การท่องเที่ยวนิเวศสร้างสรรค์บ้านขาว (Mixed Trip) ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชนพบว่า การท่องเที่ยวในชุมชนได้รับการยกระดับศักยภาพจนเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในวงกว้าง นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และมูลค่าการบริการและผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพิ่มขึ้นจากเดิม ช่วยลดปัญหาการว่างงาน สร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ นอกจากนี้ชุมชนได้รับองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรและพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนในระยะยาว
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ