การศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลของพืชพรรณสามชนิดต่อประสิทธิภาพการชะลอการไหลบ่าของน้ำฝนโดยหลังคาเขียวแบบไม่ใช้สอย
รหัสดีโอไอ
Creator พิมพ์วดี งามศิริ
Title การศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลของพืชพรรณสามชนิดต่อประสิทธิภาพการชะลอการไหลบ่าของน้ำฝนโดยหลังคาเขียวแบบไม่ใช้สอย
Contributor กันติทัต ทับสุวรรณ
Publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Publication Year 2568
Journal Title วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI)
Journal Vol. 24
Journal No. 1
Page no. 17-36
Keyword หลังคาเขียว, การชะลอการไหลบ่าของน้ำฝน, ถั่วบราซิล, หญ้ามาเลเซีย, ริบบิ้นชาลี
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku
Website title Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand
ISSN 2651-1185
Abstract หลังคาเขียวเป็นหนึ่งในนวัตกรรมอาคารที่มีบทบาทในการบริหารจัดการน้ำฝนอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของพืชพรรณ 3 ประเภท (พืช C3, C4, CAM) ที่มีกระบวนการสังเคราะห์แสงที่แตกต่างกันต่อประสิทธิภาพการชะลอการไหลบ่าของน้ำฝน ทำการทดลองเชิงปฏิบัติการโดยติดตั้งชุดทดลอง 4 ชุด ได้แก่ กระบะทดลองหลังคาคอนกรีต และกระบะทดลองหลังคาเขียวที่ปลูกด้วยพืช C3 (ถั่วบราซิล), C4 (หญ้ามาเลเซีย) และ CAM (ริบบิ้นชาลี) เปรียบเทียบความสามารถในการชะลอน้ำของชุดทดลองแต่ละชุด โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลน้ำฝนในกรุงเทพฯ ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม และแปลงข้อมูลเพื่อจำลองเหตุการณ์ฝนตก และระยะเวลาฝนทิ้งช่วงตามลำดับ ดังนี้ เหตุการณ์ที่ 1 ฝนปานกลาง ระยะเวลา 22 นาที ระยะเวลาฝนทิ้งช่วง 2 วัน, เหตุการณ์ที่ 2 ฝนหนัก ระยะเวลา 100 นาที ระยะเวลาฝนทิ้งช่วง 3 วัน และเหตุการณ์ที่ 3 ฝนปานกลาง ระยะเวลา 26 นาที ระยะเวลาฝนทิ้งช่วง 4 วันผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ประสิทธิภาพการใช้น้ำของพืชเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำของหลังคาเขียว โดยพืช C4 มีประสิทธิภาพในการชะลอน้ำฝนดีที่สุด รองลงมาคือพืช C3 และ CAM ในเหตุการณ์ที่ 1 พืช C4 กักเก็บน้ำฝนได้มากที่สุด 77-82% พืช C3 และ CAM กักเก็บน้ำฝนได้ 45-60% และ27-28% ตามลำดับ ในเหตุการณ์ที่ 2 พืช C4 และ C3 กักเก็บน้ำฝนได้ 9-11% และ 1-6% ตามลำดับ ในขณะที่พืช CAM ไม่สามารถกักเก็บน้ำฝนได้เลย ในเหตุการณ์ที่ 3 พืช C4 กักเก็บน้ำฝนได้มากที่สุด 70-73% พืช CAM และ C3 กักเก็บน้ำฝนได้ 57-64% และ 40-54% ตามลำดับ นอกจากนี้ปัจจัยด้านสภาพอากาศในระหว่างการทดลอง (ความเข้มฝน ระยะเวลาฝนทิ้งช่วง ข้อมูลด้านสภาพอากาศ) ทำให้พืช C4 มีอัตราการคายน้ำที่ดีที่สุด ซึ่งส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำในกระบวนการเจริญเติบโตมากที่สุดเช่นกัน ประกอบกับลักษณะทางกายภาพของตัวแทนพืช C4 คือหญ้ามาเลเซียซึ่งเป็นพืชคลุมดิน มีความหนาแน่นมาก ใบใหญ่ ทำให้สามารถสกัดกั้นน้ำได้ดีกว่าตัวแทนพืช C3 และ CAM ดังนั้น ในการวิจัยนี้ หญ้ามาเลเซีย (C4) จึงเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพในการชะลอการไหลบ่าของน้ำฝนดีที่สุด แต่การนำไปใช้งานควรมีการออกแบบระบบรดน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของพืชและควรเตรียมช่องทางที่สามารถเข้าไปดูแลรักษาพืชพรรณได้อย่างทั่วถึง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ