การอ่านแบบแปลนในงานออกแบบชุมชนเมืองที่สื่อถึงการจัดวางขอบเขตแบบจำแนกเฉพาะ และแบบครอบคลุม
รหัสดีโอไอ
Creator ธนัฐวัสส์ วงศ์ทิมารัตน์
Title การอ่านแบบแปลนในงานออกแบบชุมชนเมืองที่สื่อถึงการจัดวางขอบเขตแบบจำแนกเฉพาะ และแบบครอบคลุม
Contributor ลิขิต กิตติศักดินันท์
Publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Publication Year 2567
Journal Title วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI)
Journal Vol. 23
Journal No. 3
Page no. 89-106
Keyword แผนที่รูปพื้นดิน, การออกแบบชุมชนเมือง, การแบ่งเขตพิเศษ, การแบ่งเขตแบบครอบคลุม
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku
Website title Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand
ISSN 2651-1185
Abstract การทำแผนที่รูปพื้นดิน (figure-ground mapping) เป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการวางผังที่ดินและเมือง ซึ่งระบุขอบเขตเชิงพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากกฎการแบ่งเขต สถาปนิกใช้เทคนิคที่คล้ายกันในการสร้างความแตกต่างของ Poch? เพื่อถ่ายทอดความตั้งใจในการออกแบบ การถอดเนื้อหาผ่าน 'แผนผัง' นี้ กำหนดความสัมพันธ์ภายในขอบเขตเฉพาะพื้นที่ภายในและขยายวงออกทั่วทั้งเมือง แนวโน้มการขยายตัวของเมืองพยามก้าวไปสู่ระบบการอยู่อาศัยที่หนาแน่นในรูปแบบสถาปัตยกรรมแนวตั้ง โดยเฉพาะโครงการที่ถูกขับเคลื่อนหรือร่วมสนับสนุนโดยหน่วยงานของรัฐ ที่เน้นให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้มีแนวโน้มที่จะกำหนดขอบเขต 'พิเศษเฉพาะ' แนวโน้มของการรักษาความไม่เท่าเทียมทางสังคมนี้ จำกัดพลเมืองส่วนมากทั่วไปให้อยู่ในโซนที่ถูกวางแบบแผนกำหนดไว้เท่านั้นการจัดแบ่งขอบเขตด้วยการวาดแผนผังพื้นดินซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางสังคม “รูปแบบพิเศษ” นี้ จะแบ่งออกเป็น 3 เงื่อนไข ได้แก่ เส้นสายที่กำหนดการแบ่งแยกอย่างชัดเจน (a1) ชุมทางแยกเชื่อมที่มิดชิดไร้รอยต่อ (a2) และนิยามรัดกุมในการจัดกลุ่มเครือข่าย (a3) ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงไปสู่อีกขั้วของการแบ่งขอบเขตคือ “รูปแบบครอบคลุม” เช่นความเป็นมาของการออกแบบชุมชนเมืองยุคหลังสมัยใหม่ เน้นการใช้ชีวิตที่กลมกลืนและคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมกัน ยุทธวิธีการครอบคลุมนี้จะสำแดงร่องรอยของคุณลักษณะความเป็นเอกภาพ (b1) สลายความรัดกุมตามจุดแยกหรือจุดเชื่อมต่อ (b2) และทำให้น้ำหนักของนิยามการจัดกลุ่มเจือจางลง (b3)การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจว่าเงื่อนไขของขอบเขตที่อธิบายผ่านแผนผังพื้นที่ดินว่าจะมีอิทธิพลต่อบริบททางสังคมและกายภาพอย่างไร การวิเคราะห์การออกแบบชุมชนเมืองและโครงการสถาปัตยกรรม การศึกษานี้จะตรวจสอบความผันผวนระหว่างการแบ่งเขตแบบพิเศษและแบบครอบคลุมรวม การค้นพบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกสำหรับการกำหนดคุณสมบัติพิเศษ และเพื่อสร้างสมดุลระหว่างกระบวนการออกแบบเมืองและสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนขึ้นในปัจจุบัน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ