![]() |
ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองของผู้สูงอายุ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เจนจิรา หาญยืน |
Title | ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองของผู้สูงอายุ |
Contributor | พจนา โพธิ์จันดี, สมชาย เซะวิเศษ, ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา |
Publisher | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI) |
Journal Vol. | 23 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 72-88 |
Keyword | สื่อประชาสัมพันธ์, ผู้สูงอายุ, ระดับน้ำตาลในเลือด, ออกแบบ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku |
Website title | Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand |
ISSN | 2651-1185 |
Abstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เสมือนจริง เรื่องการตรวจน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุ 2)เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้สูงอายุต่อสื่อประชาสัมพันธ์ที่พัฒนาใหม่ โดยมีกลุ่มประชากร คือ ผู้สูงอายุที่มีทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 4,161 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จำนวน 1,562 คน ใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Yamane) ที่ความเชื่อมั่น 98% โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ตามมาตรประเมินค่าลิเคอร์ท (Likert scale) 5 ระดับ เครื่องมือวิจัยมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (IOC=.673; Cronbach’s Alpha=.781) พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ใหม่ในระดับพึงพอใจมาก (Mean=4.029; S.D.=.674) และผู้สูงอายุมีความพึงพอใจแยกเป็นรายด้านประเมิน 3 อันดับแรก คือ 1)ช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพในผู้สูงอายุ มีระดับพึงพอใจมากที่สุด (Mean=4.479; S.D.=.574) 2)ภาพประกอบสื่อประชาสัมพันธ์มีความสวยงาม มีระดับพึงพอใจมากที่สุด (Mean=4.426; S.D.=.606) 3)ช่วยส่งเสริมความรู้สึกที่ตนเองต้องดูแลสุขภาพ มีระดับพึงพอใจมากที่สุด (Mean=4.374; S.D.=.731) เป็นต้น เมื่อวิเคราะห์ EFA ปรากฏค่า KMO=.498 และค่า Bartlett’s Test ระดับ Sig.=.000 ซึ่งทั้ง 15 ตัวแปร มีความความสัมพันธ์กันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของความพึงพอใจในผู้สูงอายุต่อสื่อประชาสัมพันธ์ใหม่ มีค่า Communalities = .603-.860 พบว่า ปัจจัยการสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของกลุ่มผู้สูงอายุมี 6 ปัจจัย คือ ปัจจัย 1 ความรู้สึกใส่ใจต่อสุขภาพผู้สูงอายุ, ปัจจัย 2 คุณภาพของสื่อประชาสัมพันธ์, ปัจจัย 3 การดูแลสุขภาพ, ปัจจัย 4 ความตระหนักรู้ในการตรวจเลือด, ปัจจัย 5 ความกลมกลืนของเนื้อหา และปัจจัย 6 การสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เป็นต้น |