การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ระดับความพึงพอใจ และความผูกพันของบุคลากร สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
รหัสดีโอไอ
Creator 1. อมรพรรณ พัทโร
2. จอมใจ เพชรกล้า
Title การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ระดับความพึงพอใจ และความผูกพันของบุคลากร สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Publisher สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Publication Year 2558
Journal Title วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Journal Vol. 26
Journal No. 1
Page no. 109-117
Keyword ปัจจัยสร้างบรรยากาศในการทำงาน ปัจจัยจูงใจ, ความพึงพอใจ, ความผูกพัน, Hygiene Factor, Motivation Factor, Staff Satisfaction, Staff Engagement
ISSN 0857-9296
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของบุคลากร และระดับความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากร โดยใช้แนวคิดทฤษฎีจูงใจ 2 ปัจจัย (Herzberg's two-factor theory) ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยบำรุงรักษา (ปัจจัยสร้างบรรยากาศในการทำงาน) และปัจจัยจูงใจ ประชากรในการศึกษาเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักวิทยบริการ จำนวน 71 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมมีปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจระดับเกรด A 7 ปัจจัย จัดในกลุ่มปัจจัยบำรุงรักษาหรือปัจจัยสร้างบรรยากาศในการทำงาน 6 ปัจจัย และอยู่ในกลุ่มปัจจัยจูงใจ 1 ปัจจัย สำหรับผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจจำแนกกลุ่มบุคลากรตามระดับตำแหน่งงาน พบว่า บุคลากรแต่ละกลุ่มมีความคิดเห็นโดยเฉพาะปัจจัยที่อยู่ในระดับเกรด A แตกต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มตำแหน่งตํ่ากว่าปฏิบัติงานเห็นว่า มีเพียง 2 ปัจจัย ส่วนกลุ่มตำแหน่งปฏิบัติงาน-ปฏิบัติการเห็นว่า มี 11 ปัจจัย กลุ่มตำแหน่งระดับชำนาญงานชำนาญการเห็นว่า มี 14 ปัจจัย และกลุ่มตำแหน่งระดับชำนาญงานพิเศษชำนาญการพิเศษ เห็นว่ามี 4 ปัจจัย ทั้งนี้ ทุกกลุ่มเห็นร่วมกันว่า ปัจจัยเรื่องนโยบายและแนวทางในการบริหารงานของผู้บริหาร เป็นปัจจัยระดับเกรด A ที่มีผลต่อความพึงพอใจของบุคลากร ส่วนผลการศึกษาระดับความพึงพอใจ พบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจต่อนโยบายและแนวทางในการบริหารงานของผู้บริหารสูงสุดที่ระดับ 4.31 และเมื่อนำผลการสำรวจระดับความพึงพอใจของบุคลากรต่อองค์กรในช่วงเวลาเดียวกันมาทำการเปรียบเทียบกับระดับความคาดหวังของแต่ละปัจจัย พบว่า ระดับความพึงพอใจของบุคลากรต่อปัจจัยที่สำคัญ 7 ลำดับแรก มีระดับความพึงพอใจสูงกว่า 4.00 โดยมี 3 ปัจจัยที่ระดับความพึงพอใจสูงกว่าความคาดหวังของบุคลากร มี 4 ปัจจัย ที่มีระดับคะแนนความพึงพอใจตํ่ากว่าความคาดหวัง สำหรับผลการศึกษาความผูกพันของบุคลากรต่อสำนักวิทยบริการ 5 ด้าน พบว่า ระดับความผูกพันของบุคลากรในภาพรวมอยู่ที่ 4.05
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ