กลวิธีการนำเสนอตัวละครชายในฝันในละครโทรทัศน์ไทย พ.ศ. 2556 - 2565
รหัสดีโอไอ
Creator Zhang Liqun
Title กลวิธีการนำเสนอตัวละครชายในฝันในละครโทรทัศน์ไทย พ.ศ. 2556 - 2565
Contributor วีรวัฒน์ อินทรพร
Publisher Huachiew Chalermprakiet University
Publication Year 2567
Journal Title Academic and Research Journal of Liberal Arts
Journal Vol. 19
Journal No. 2
Page no. 98-122
Keyword กลวิธีการนำเสนอ, ชายในฝัน, ละครโทรทัศน์ไทย
URL Website https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/issue/view/18063
Website title https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu
ISSN 3056-9052 (Online)
Abstract ตัวละครชายในฝันเป็นองค์ประกอบสำคัญของละครโทรทัศน์ไทยประเภทพาฝัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอตัวละครชายในฝันในละครโทรทัศน์ไทย พ.ศ. 2556 – 2565 จำนวน 12 เรื่อง โดยใช้การวิจัยแบบวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ละครโทรทัศน์ไทย พ.ศ. 2556 – 2565 มีกลวิธีการนำเสนอตัวละครชายในฝัน 3 กลวิธี ได้แก่ 1) กลวิธีการนำเสนอตัวละครผ่านโครงเรื่องโดยการเปิดเรื่องด้วยการแนะนำด้านบวกของตัวละคร การดำเนินเรื่องคือให้ตัวละครเผชิญปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาจนสำเร็จ การปิดเรื่องด้วยการครองคู่ของตัวละครชายในฝันกับนางเอก 2) กลวิธีการนำเสนอตัวละครผ่านบุคลิกลักษณะภายนอกในด้านรูปร่างหน้าตาดี บุคลิกดี การแต่งกายที่เหมาะสม และการประกอบอาชีพที่มั่นคง 3) กลวิธีการนำเสนอตัวละครผ่านบุคลิกลักษณะภายใน คือ ความมีสติปัญญา ความกล้าหาญ ความมีน้ำใจ ความมีมารยาทเป็นสุภาพบุรุษ ความรับผิดชอบ ความอบอุ่นอ่อนโยน ความมีอารมณ์ขัน และความมีส่วนร่วมในการทำงานบ้าน ลักษณะทั้งหมดนี้ทำให้ละครโทรทัศน์ไทยประเภทพาฝันได้สร้างภาพแทนของผู้ชายในอุดมคติขึ้นมาให้แก่ผู้ชม
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ