กลวิธีการสื่อความหมายอาณาจักรอยุธยาในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2481-2562
รหัสดีโอไอ
Creator Lurong Niu
Title กลวิธีการสื่อความหมายอาณาจักรอยุธยาในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2481-2562
Contributor จันทร์สุดา ไชยประเสริฐ
Publisher Huachiew Chalermprakiet University
Publication Year 2567
Journal Title Academic and Research Journal of Liberal Arts
Journal Vol. 19
Journal No. 2
Page no. 54-75
Keyword กลวิธีการสื่อความหมาย, อาณาจักรอยุธยา, นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทย
URL Website https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/issue/view/18063
Website title https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu
ISSN 3056-9052 (Online)
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสื่อความหมายอาณาจักรอยุธยาในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2481-2562 โดยศึกษานวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาจำนวน 13 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทยได้สื่อความหมายอาณาจักรอยุธยาเน้นผ่านองค์ประกอบสำคัญของนวนิยาย 4 ประการ ได้แก่ ตัวละคร บทสนทนา ฉาก และมุมมองการเล่าเรื่อง โดยมีการสื่อความหมายโดยทางตรงและโดยทางอ้อม การสร้างตัวละครเน้นสื่อถึงภาพด้านการปกครองโดยตรง ยังได้สื่อถึงภาพด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศและภาพด้านวัฒนธรรมโดยทางอ้อม การสร้างบทสนทนาเป็นการสื่อความหมายโดยทางตรงที่เน้นสื่อถึงภาพด้านวัฒนธรรมเป็นหลัก และยังสื่อถึงภาพด้านการปกครอง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ และเศรษฐกิจ การสร้างฉากเน้นสื่อความหมายโดยตรง ได้สื่อถึงภาพด้านชีวิตความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และมีการสื่อความหมายทางอ้อมที่บอกถึงภาพ การปกครองด้วย มุมมองการเล่าเรื่องมีแบบผู้รู้แจ้งและผู้เล่าเป็นตัวละครเอกในเรื่อง สื่อถึงภาพชีวิตความเป็นอยู่ การทหาร การปกครอง เป็นต้น โดยภาพด้านต่าง ๆ มีทั้งภาพดีและภาพไม่ดี เห็นได้ว่า องค์ประกอบของนวนิยายมีบทบาทสื่อถึงภาพอาณาจักรอยุธยาทั้งในด้านเหมือนและไม่เหมือนกัน จึงส่งเสริมให้ผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจความหมายของอาณาจักรอยุธยาที่มีความหลากหลายตามที่ผู้ประพันธ์ประสงค์จะถ่ายทอดได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ