![]() |
การเปรียบเทียบทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ด้วยทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบหลักการจุดตัด 9 ช่อง กับวิธีสอนแบบปกติ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พชรศร ดวงใจ |
Title | การเปรียบเทียบทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ด้วยทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบหลักการจุดตัด 9 ช่อง กับวิธีสอนแบบปกติ |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 133-143 |
Keyword | การออกแบบสื่อสร้างสรรค์, ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด, หลักการจุดตัด 9 ช่อง |
URL Website | https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj |
ISSN | 2985-1122 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ด้วยทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบหลักการจุดตัด 9 ช่อง เพื่อเปรียบเทียบทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ด้วยทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบปกติ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการพัฒนาทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ด้วยแคนวา เรื่องการออกแบบกราฟิก ดีไซน์ อาร์ต ประเภทการออกแบบโปสเตอร์ รายวิชาโปรแกรมกราฟิกสำหรับผลิตสื่อดิจิทัล ตามระดับความเห็น 5 ระดับของลิเคิร์ท (LIKERT RATING SCALE) ประชากร คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ที่เรียนรายวิชาโปรแกรมกราฟิกสำหรับผลิตสื่อดิจิทัล จำนวน 6 ห้อง จำนวนนักศึกษา 112 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม 2 ห้องเรียน จำนวน 15 คน และจำนวน 19 คน รวมจำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินการพัฒนาทักษะการออกแบบสื่อสร้างสรรค์จากชิ้นงานการออกแบบโปสเตอร์ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่นและความละเอียดละออ การให้คะแนนด้านละ 5 คะแนน รวมเป็น 20 คะแนน และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อคำถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่าง T-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า วิธีสอนแบบปกติ พบค่าความแตกต่าง T-test แบบ Dependent มีค่า t = 5.71 ในขณะที่วิธีสอนแบบหลักการจุดตัด 9 ช่อง พบค่าความแตกต่าง T-test แบบ Dependent มีค่า t = 9.12 ส่วนคะแนนความพึงพอใจของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ย 4.81 คะแนน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยดังนี้ 1) ผลการประเมินผลงานการพัฒนาทักษะการออกแบบ สื่อสร้างสรรค์ด้วยแคนวา เรื่องการออกแบบกราฟิก ดีไซน์ อาร์ต ประเภทการออกแบบโปสเตอร์ รายวิชาโปรแกรมกราฟิกสำหรับผลิตสื่อดิจิทัล ด้วยทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (GUILFORD) แบบการเรียนด้วยหลักการจุดตัด 9 ช่อง สูงกว่าการเรียนแบบปกติ 2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษา ตามระดับความเห็น 5 ระดับของลิเคิร์ท (LIKERT RATING SCALE) อยู่ในระดับมาก |