![]() |
การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ณัชกานย์ กาญจนสมศักดิ์ |
Title | การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 49-67 |
Keyword | คุณภาพการให้บริการ, ความพึงพอใจ, ความคาดหวัง, การรับรู้ |
URL Website | https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj |
ISSN | 2985-1122 |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด ตามความคาดหวังก่อนเข้ารับบริการ กับการรับรู้จริงหลังการรับบริการ และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด ตามความคาดหวังก่อนเข้ารับบริการ กับการรับรู้จริงหลังการรับบริการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานขับรถบรรทุกที่เข้ารับบริการ จำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ ใช้วิธีการแจกแบบสอบถามตามความสะดวก ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟาของความคาดหวังก่อนเข้ารับบริการ มีค่าเท่ากับ 0.791 การรับรู้จริงหลังการรับบริการ มีค่าเท่ากับ 0.839 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวัดคุณภาพบริการ SERVQUAL และการทดสอบค่าเฉลี่ยของการวัดซ้ำของกลุ่มตัวอย่างเดิม (Paired – sample t-test)ผลการศึกษา พบว่า 1) ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (0.18) โดยทุกด้านมีค่าเฉลี่ยการรับรู้จริงหลังการรับบริการ สูงกว่าความคาดหวังก่อนเข้ารับบริการ ได้แก่ ด้านความดูแลเอาใจใส่ (0.26) รองลงมา ได้แก่ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (0.25) ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ (0.18) ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ (0.13) และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (0.10) ตามลำดับ และ 2) ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท เอส.อาร์.ดีโป จำกัด ตามความคาดหวังก่อนเข้ารับบริการ กับการรับรู้จริงหลังการรับบริการ แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวม และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ด้านความดูแลเอาใจใส่ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |