![]() |
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน FACEBOOK ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เอกลักษณ์ จันทร์ไพบูลย์กิจ |
Title | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน FACEBOOK ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 30-48 |
Keyword | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, การตัดสินใจซื้อ, แอปพลิเคชัน |
URL Website | https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj |
ISSN | 2985-1122 |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ สถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟาของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ 0.958 และการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ 0.894 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test, F-test สำหรับทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปรด้วยวิธี LSD และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการศึกษา พบว่า 1) การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า อาชีพ รายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านเพศ อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษา ไม่พบความแตกต่าง และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กับการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และพบความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านราคา ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |