![]() |
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกผักปลอดภัยของกลุ่มเกษตรกร ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นภาลัย บุญทิม |
Title | การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกผักปลอดภัยของกลุ่มเกษตรกร ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Publisher | Faculty of Management Technology Rajamangala University of Technology Isan Surin Campus |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 126-139 |
Keyword | ต้นทุน, ผักปลอดภัย, ผลตอบแทน |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt |
Website title | วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ |
ISSN | 3027-8317 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกผักปลอดภัยของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัย ในกลุ่มแปลงใหญ่ ตำบลปากช่อง ตำบลปากดุก ตำบลบ้านหวาย และ ตำบลบ้านกลาง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 46 คน จากผลการศึกษา พบว่า การปลูกผักปลอดภัยสำหรับพื้นที่ปลูก 1 ไร่ มีต้นทุนเฉลี่ยรวมต่อปีของผักชีฝรั่ง 90,648 บาท ผักกวางตุ้ง 75,882 บาท กะหล่ำดอก 58,059 บาท ผักกาดขาว 44,932 บาท ส่วนใหญ่ เป็นค่าใช้จ่ายในการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยว สำหรับการวิเคราะห์ผลตอบแทน พบว่า การจำหน่ายผักกาดขาว มีกำไร 164,408 บาท อัตราส่วนกำไรสุทธิ ร้อยละ 78.54 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน 3.66 ผักกวางตุ้ง มีกำไร 146,491 บาท อัตราส่วนกำไรสุทธิ ร้อยละ 65.88 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน 1.94 กะหล่ำดอก มีกำไร 134,451 บาท อัตราส่วนกำไรสุทธิ ร้อยละ 69.84 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน 2.32 แสดงให้เห็นว่า การลงทุนปลูกผักทั้ง 3 ชนิดดังกล่าว คุ้มค่ากับการลงทุนเนื่องจากได้รับผลตอบแทนค่อนข้างสูง ในขณะที่ผักชีฝรั่ง มีกำไร 62,856 บาท อัตราส่วนกำไรสุทธิ ร้อยละ 40.95 ผลตอบแทนที่ได้รับค่อนข้างน้อย และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน 0.60 แสดงให้เห็นว่าผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกผักชีฝรั่งไม่คุ้มค่า ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยสามารถกำหนดแนวทางการบริหารจัดการต้นทุน และการวางแผนการลดต้นทุนเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น |